DSpace Repository

ฉะเชิงเทรา : เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง (พ.ศ. 2398-2554)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภารดี มหาขันธ์
dc.contributor.advisor ศักดินา บุญเปี่ยม
dc.contributor.author อิงตะวัน แพลูกอินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:51Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:51Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6562
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เมืองฉะเชิงเทราพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วและกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดจากพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมืองฉะเชิงเทราโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ฉะเชิงเทราพัฒนาอย่างรวดเร็วจากเมืองชั้นจัตวาจนกลายเป็นเมืองสำคัญทางทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง ประกอบด้วย ปัจจัย 3 ด้าน คือ 1. ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม 2. ความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาในการดำรงชีพและประกอบอาชีพ 3. นโยบายของผู้ปกครองอาณาจักรและรัฐไทยในแต่ละยุคสมัย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ฉะเชิงเทรามีทุนของตัวเอง คือ แม่น้ำบางปะกงอันเป็นสายพานของระบบนิเวศ ที่เชื่อมต้นน้ำจากผืนป่าตะวันออกไหลลงสู่ทะเล ก่อเกิดเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ เมืองที่มีฐานรากทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาก่อเกิดทรัพยากร บุคคล ที่สามารถพัฒนาต่อยอดการสร้างความเจริญ ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งทางด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ จนทำให้ฉะเชิงเทราเป็นเมืองสำคัญทั้งในด้านความั่นคงทางอาหาร ถือเป็นครัวของภูมิภาคของเมืองหลวงและของโลกเป็นเมืองที่มีผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมที่หลากหลาย มีการค้าขายและบริการที่เจริญรุ่งเรืองและที่สำคัญคือมีศักยภาพ และทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามธรรมชาติแต่หากมองในแนววิชาการจะเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในเชิงบวกคือเกิดการลงทุนทางด้านเศรษฐกิจเกิดการผลิตเพื่อการค้าเกิดการจ้างแรงงานการรับวิทยาการจากต่างชาติการขยายพื้นที่เกษตรกรรม เกิดการตั้งชุมชนเมืองขยายตัวการเป็นแหล่งรายได้ของรัฐและการพัฒนาสู่การเป็นเมืองรองของกรุงเทพฯ ส่วนผลกระทบในเชิงลบคือทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาแรงงานต่างด้าว ความเสื่อมของอุตสาหกรรมในครัวเรือน อิทธิพลและความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ตลอดจนสภาพสังคมและวิถีชีวิตของชาวเมืองฉะเชิงเทราเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ด้วยภูมิปัญญาของชาวเมืองนี้ที่ได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ด้วยการนำแนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ซึ่งถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากมาปรับใช้ในวิถีการทำมาหากิน โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกิดจิตสำนึกตระหนักรู้และร่วมกันอนุรักษ์ไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาไทยศึกษา
dc.subject ฉะเชิงเทรา -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject ฉะเชิงเทรา -- บางปะกง -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
dc.title ฉะเชิงเทรา : เมืองสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งลุ่มน้ำบางปะกง (พ.ศ. 2398-2554)
dc.title.alternative Chchoengso: the economic importnce of the Bng Pkong river bsin (1855-2011)
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research is to study important factors supporting Chachoengsao to develop quickly and economic development process as well as the impact from economic development in Chachoengsao by using qualitative research. Based on the research findings, the important factors which encouraged Chachoengsao to develop quickly from level-4 city to be an important economic city in Bang Pakong basin include 3 following factors: 1. geographical and environmental factor 2. ethnical diversity, culture, and wisdom in living and working 3. the policy of the governor of the kingdom and Thai state in each era. These factors allowed Chachoengsao to have its own cost which is Bang Pakong River, the conveyor belt of ecological system which connects the upstream from the east forest to the sea, creating abundant natural resources and biological diversity. The city has cultural root and wisdom, which develops human resource and civilization further. This affects economic development process in terms of agriculture, industry, commerce, and service, making Chachoengsao become a major city in food security regarded as the kitchen of the region, capital city, and the world. Chachoensao is a city with various industrial products and prosperous trading and service. More importantly, Chachoengsao has potential and clear direction of economic developmentin a gradual and natural way. However, from academic perspective, it is a leap development, which has positive effects including economical investment, commercial production, employment, knowledge receipt from other countries, agricultural area expansion, community set up, city expansion, state revenue source, and the development into level-2 city from Bangkok. On the other hand, there are some negative effects such as natural resource being destroyed, environmental problem, alien labor problem, household industry deterioration, influence and conflict of benefits, as well as changes in social condition and lifestyle of Chachoengsao people. However, by the wisdom of the people in this city to apply H.M. King Bhumibol Adulyadej’s Philosophy of Sufficiency, which is about grassroots economy, in living their lives in an economically friendly way, as well as having an awareness of environment conservation and sustainable economic development.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline ไทยศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account