Abstract:
การวิจัยวัฒนธรรมหลังความตายของคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีเป็นการศึกษาในลักษณะพื้นที่ศึกษา (Area study) ที่ศึกษาตรวจสอบฟอสซิลทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรม หลังความตายของชาวจีนในประเทศจีน และชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีรวมทั้งศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพล และการปรับตัวของชาวไทยเชื้อสายจีนในด้านวัฒนธรรมหลังความตายในจังหวัดชลบุรีโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) ผลการวิจัยอธิบายถึงภาพรวมของวัฒนธรรมหลังความตายของชาวจีนจาก 6 ด้าน ได้แก่ 1. รูปแบบการฝังศพ 2. รูปแบบการปลงศพ 3. รูปแบบสุสาน 4. พิธีกรรมงานศพ 5. การเซ่นไหว้ และ 6.คุณค่าต่อสังคม เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติรูปแบบสังคม ความเชื่อเรื่องศาสนาและความเคยชินในการใช้ชีวิตที่ประชาชนแต่ละชนเผ่าแต่ละพื้นที่ของจีนอาศัยอยู่ล้วนมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้วัฒนธรรมหลังความตาย ของชาวจีนได้แสดงให้เห็นความหลากหลายอุดมสมบูรณ์มากขณะเดียวกัน วัฒนธรรมหลังความตายของ ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมความเชื่อต่าง ๆ ของจีน เช่น วัฒนธรรม ด้านความกตัญญูความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องข้อห้าม ความเชื่อเกี่ยวกับโลกของคนตายเป็นต้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมทางสังคมไทยโดยเฉพาะความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธในท้องถิ่น จากอิทธิพลของ 2 ปัจจัยดังกล่าว ทําให้ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีมีวัฒนธรรมหลังความตายที่ เป็นเอกลักษณ์งานวิจัยอธิบาย 5 ขั้นตอน ไว้อย่างละเอียด ได้แก่ 1. การจองฮวงซุ่ยเตรียมเสื้อและโลงศพ 2. เพิ่งเสียชีวิต (เพิ่งเสียชีวิต-เคลื่อนศพไปยังที่ตั้ง) 3. ขั้นตอนการกระทําศพ (ตั้งฉาก-พิธีกงเต๊ก) 4. ขั้นตอน ออกศพ 5. ขั้นตอนการเซ่นไหว้และการไว้ทุกข์ นอกจากนี้วัฒนธรรมหลังความตายของชาวไทยเชื้อสายจีน ยังมีคุณค่าต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1. สามารถบรรเทาความรู้สึกและปลอบประโลม 2. กระชับความปรองดองลดความขัดแย่งและเสริมสร้าง ความสามัคคีภายในครอบครัวและวงศ์ตระกูลได้ 3. การสืบทอดวัฒนธรรมด้านความกตัญญูและ 4. ช่วยเหลือ ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดํารงอยู่ของวัฒนธรรมหลังความตาย สรุปได้ว่า 1. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสมัยใหม่ 2. อิทธิพลของการศึกษาที่สูงขึ้น ทําให้ความเชื่อและค่านิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง 3. การแต่งงานกับคนท้องถิ่น จึงทําให้วัฒนธรรมเกิดการผสมผสาน สุดท้ายเรื่อง การปรับตัวของชาวไทยเชื้อสายจีน สรุปได้ว่า 1. การปรับตัวด้านอาหารสําหรับเซ่นไหว้ 2. การปรับตัว ด้านพิธีกรรม 3. การปรับตัวด้านสถานที่จัดงาน 4. การปรับตัวด้านดนตรีประกอบพิธีกงเต๊กและ 5. การปรับทางด้านผู้นําพิธีกรรม