Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาถึงสภาพปัญหาการค้าประเวณีของหญิงไทยในสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐและแสวงหาแนวทางในการป้องกันและปราบปรามปัญหาการค้าประเวณีของหญิงไทยในสาธารณรัฐเกาหลี โดยสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว ประกอบด้วยทั้งหมด 16 คน จากหน่วยงาน 7 แห่งจากทั้งประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยดึงดูดที่ทําให้ผู้หญิงไทยตัดสินใจเดินทางเข้าไปยังสาธารณรัฐเกาหลีโดยใช้ประโยชน์จากการยกเว้นการตรวจลงตราคือ ความต้องการด้านเศรษฐกิจ นายหน้า หรือผู้ชักชวนอ้างว่าจะเป็นพนักงานร้านนวดแผนไทยที่เกาหลีพอถึงเกาหลีแล้วเป็นการบังคับให้ค้าประเวณี แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสมัครใจลักลอบค้าประเวณีเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ โดยสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลักที่นําผู้หญิงไทยสู่ธุรกิจทางเพศที่เกาหลีได้ สําหรับรูปแบบการค้าประเวณีที่ผู้หญิงไทยทํางานโดยส่วนใหญ่เป็นร้านนวดแผนไทยที่แอบค้าประเวณี โดยทําการนวดและความสัมพันธ์ทางเพศ นอกจากนี้ นอกจากนี้มีธุรกิจแบบใหม่ เช่น นางทางโทรศัพท์ ห้องคอนโดก็รับผู้หญิงไทยให้ค้าประเวณี กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐพบว่า ผู้ที่ถูกส่งกลับเนื่องจากการถูกปฏิเสธที่ด้านหรือการถูกจับกุมจากตํารวจหรือตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้ต้องผ่านสอบปากคําของฝ่ายพิธีการเข้าเมืองของสํานักงานตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย ส่วนกองการต่างประเทศของสํานักงานตํารวจแห่งชาติไทยซึ่งรับแจ้งความคดีการบังคับให้ค้าประเวณีที่เกาหลีประสานความร่วมมือกับตํารวจเกาหลีใต้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สัมภาษณ์ตรวจร่างกายเพื่อคัดกรองเหยื่อจริงเนื่องจากมีคนที่อ้างเป็นเหยื่ออยากกลับผ่านช่องทางเหยื่อค้ามนุษย์ จากผลการวิจัยพบเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและปราบปรามปัญหาทั้งหมด 5 วิธีการ ได้แก่ 1. ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี 2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสภาพปัญหา 3. การตรวจคนเข้าเมืองของสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเข้มงวด 4. การปรับปรุงความตกลงการยกเว้นการตรวจลงตรา 5. การเปิดโอกาสที่ส่งแรงงานไทยไปสู่ร้านนวดแผนไทยในสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถูกกฎหมาย