Abstract:
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะมีอาการหายใจลําบากเมื่อต้องออกแรงทําให้ความทนในการทํากิจกรรมลดลง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและเทคนิคการสงวนพลังงานเป็นกลยุทธ์สําคัญที่จะช่วยลดอาการหายใจลําบากและเพิ่มความทนในการทํากิจกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานต่อความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวัน สุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้าพักรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา จํานวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานตลอด ระยะ 7 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ในการทํากิจวัตรประจําวันที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และการทดสอบการเดินบนพื้นราบใน 6 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวันมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < .01) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความทนในการทำกิจกรรมและเพิ่มการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน อันจะส่งผลให้ลดอาการหายใจลำบากและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขตามสภาวะโรคที่เป็นอยู่ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น