DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานต่อความทนในการทำกิจกรรมและการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor เขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisor นิภาวรรณ สามารถกิจ
dc.contributor.author นันทิยา พันธ์เกษม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.available 2023-05-12T03:01:48Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6548
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะมีอาการหายใจลําบากเมื่อต้องออกแรงทําให้ความทนในการทํากิจกรรมลดลง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและเทคนิคการสงวนพลังงานเป็นกลยุทธ์สําคัญที่จะช่วยลดอาการหายใจลําบากและเพิ่มความทนในการทํากิจกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานต่อความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวัน สุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้าพักรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา จํานวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานตลอด ระยะ 7 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ในการทํากิจวัตรประจําวันที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และการทดสอบการเดินบนพื้นราบใน 6 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวันมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < .01) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความทนในการทำกิจกรรมและเพิ่มการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน อันจะส่งผลให้ลดอาการหายใจลำบากและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขตามสภาวะโรคที่เป็นอยู่ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
dc.subject โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
dc.title ผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานต่อความทนในการทำกิจกรรมและการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
dc.title.alternative Effects of wlking with prop nd energy conservtion techniques progrm on ctivity endurnce nd perceived self-efficcy relted to ctivities of dily living in chronic obstructive pulmonry disese ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Chronic Obstructive Pulmonary Disease (COPD) patient always faces with dyspnea when performing exercise leading to decreasing in activity endurance. Lungs rehabilitation and energy conservation technique is an important strategy in order to reduce dyspnea and increase activity endurance. This two-group pretest and posttest quasi- experimental research aimed to study the effects of Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program on activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL. Fifty COPD patients were randomly selected and assigned into experimental and control groups equally. The control group received normal nursing care whereas the experimental group received 7-week Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program individually. Instruments used in this study consisted of The Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program which was validated by 5 experts, Perceived Self-Efficacy Related to ADL Questionnaire with its reliability of .83, and Six-Minute Walk Test. Descriptive statistics and t -test were used for data analysis. Findings revealed that after receiving the program, mean score of activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL of experimental group was statistically and significantly higher than thoseof before receiving the program (p < .01) as well as higher than those of the control group (p < .01). Research result suggested that this Walking with Prop and Energy Conservation Technique Program should be implemented with COPD patients so to enhance their activity endurance and perceived self-efficacy related to ADL leading to reduce dyspnea and spend their daily living according to their health status as well as reach to better quality of life.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account