Abstract:
ภาพลักษณ์ของพยาบาลเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้บริการได้รับรู้เมื่อมาโรงพยาบาลและต้องติดต่อกับพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แผนกผู้ป่วยนอกที่เป็นด่านหน้าของการพบกันระหว่างผู้ใช้บริการกับพยาบาลการวิจัยแบบบรรยายเชิงเปรียบเทียบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของพยาบาลที่เป็นจริงกับในอุดมคติตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกและเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ใช้บริการตามความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 320 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มแบบหลายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบสอบถามการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลที่เป็นจริงและแบบสอบถามการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าการรับรู้ที่เป็นจริง (t= -8.92, p .01) ผู้ใช้บริการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือมากกว่ามีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ ปวส. และมัธยมปลาย/ ปวช. (F= 3.09, p< .05) และผู้ที่มาใช้บริการครั้งที่ 4 ขึ้นไปมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในอุดมคติสูงกว่าผู้ที่มาใช้บริการครั้งที่ 2 (F= 4.56, p> .01) นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่าง ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารการพยาบาลควรกำหนดนโยบายหรือมาตรการให้พยาบาลปฏิบัติและแสดงภาพลักษณ์ที่เหมาะสมตลอดเวลา เพื่อให้ผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปมีการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลในทางที่ดีมากที่สุด นอกจากนี้ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ของพยาบาลทางบวกโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้บริการที่เป็นเพศชายระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีและผู้ใช้บริการรายใหม่