Abstract:
การผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหนึ่งเนื่องจากความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของผู้คลอดการวิจัยแบบเชิงพยากรณ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์แรกได้แก่ ทัศนคติต่อการผ่าตัดคลอด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอดและการรับรู้ความสามารถ ในการคลอดของตนเองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สตรีครรภ์แรกที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 120 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามทศันคติต่อการผ่าตัดคลอด แบบสอบถาม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการคลอดของตนเองและแบบสอบถามความตั้งใจเลือกการผาตัดคลอด มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .72, .70, .95 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิธีถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่อการผ่าตัดคลอด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอด และการรับรู้ความสามารถในการคลอดของตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์แรกได้ร้อยละ 18.7 (R 2 = .187, F3,116 = 8.892) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งแรกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .403, P < .001) ผลการวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรหากลยุทธ์ในการส่งเสริมความเชื่อค่านิยมของสตรีตั้งครรภ์แรกครอบครัวรวมทั้งบุคลากรด้านสุขภาพให้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของวิธีการคลอดเอง เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีความตั้งใจเลือกวิธีการคลอดทางช่องคลอดมากกว่าผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์