dc.contributor.advisor |
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี |
|
dc.contributor.advisor |
พิริยา ศุภศรี |
|
dc.contributor.author |
สาวิกา ใจบริสุทธิกุล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:51:32Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:51:32Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6498 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สาเหตุหนึ่งเนื่องจากความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของผู้คลอดการวิจัยแบบเชิงพยากรณ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์แรกได้แก่ ทัศนคติต่อการผ่าตัดคลอด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอดและการรับรู้ความสามารถ ในการคลอดของตนเองกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สตรีครรภ์แรกที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 120 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามทศันคติต่อการผ่าตัดคลอด แบบสอบถาม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการคลอดของตนเองและแบบสอบถามความตั้งใจเลือกการผาตัดคลอด มีค่าความเชื่อมั่นแอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .72, .70, .95 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และวิธีถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติต่อการผ่าตัดคลอด การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอด และการรับรู้ความสามารถในการคลอดของตนเอง สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์แรกได้ร้อยละ 18.7 (R 2 = .187, F3,116 = 8.892) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการเลือกผ่าตัดคลอดเป็นปัจจัยเดียวที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งแรกได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = .403, P < .001) ผลการวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรหากลยุทธ์ในการส่งเสริมความเชื่อค่านิยมของสตรีตั้งครรภ์แรกครอบครัวรวมทั้งบุคลากรด้านสุขภาพให้เข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์ของวิธีการคลอดเอง เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์มีความตั้งใจเลือกวิธีการคลอดทางช่องคลอดมากกว่าผ่าตัดคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
การผ่าท้องทำคลอด |
|
dc.subject |
การผ่าตัดทำคลอด |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง |
|
dc.subject |
การคลอด |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเลือกการผ่าตัดคลอดของสตรีตั้งครรภ์แรก |
|
dc.title.alternative |
Fctors influencing elective cesren section intention mong primigrvid women |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
One factor that effect the increasing rates of cesarean section without medical indications is elective cesarean section intention. This predictive research aimed to examine factors influencing intention of elective cesarean section among primigravida women which included attitude towards cesarean section, subjective norms of choosing cesarean section and perceived childbirth self-efficacy of primigravidarum receiving antenatal care at Nopparatrajathanee hospital. The sample of 120 primigravidarum select by systematic random sampling. Data were collected from April to June 2016 by using self-report questionnaires which included the Demographic Information Questionnaire, the Attitude Towards Cesarean Section Questionnaire, the Subjective Norms of Choosing Cesarean Section Questionnaire, the Perceived Childbirth Self-efficacy Questionnaire and the Intention to Selecting Cesarean Section Questionnaire. The Cronbach’s alpha coefficients of the questionnaires were .72, .70, .95 and .87 respectively. Data was analyzed by using descriptive statistics and standard multiple regression analysis. Results revealed that attitude towards cesarean section, subjective norms of choosing cesarean section and perceived childbirth self-efficacy together could significantly predict 18.7% of variance (R 2 = .187, F3,116 = 8.892)of elective cesarean section intention among primigravida women.Subjective norms of choosing cesarean section was the only significant predictor of elective cesarean section intention (β = .403, P < .001). The results suggest that nurses at antenatal care clinic should develop interventions to promote beliefs and values related to normal birth among women, families, and health personnel to increase intention to vaginal delivery and reduce unnecessary cesarean. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การผดุงครรภ์ขั้นสูง |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|