Abstract:
การศึกษาวงจรชีวิตของแมงกะพรุนถ้วยหางขน Acromitus flagellatus (Maas, 1903) และผลของอุณหภูมิความเค็มที่ผลต่อการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของไซพิสโตม่าแมงกะพรุนถ้วยหางขน ภายใต้สภาพห้องปฏิบัติการ พบว่าแมงกะพรุนถ้วยหางขน มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ คือ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) ในระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่า (Medusa) และการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) ในระยะไซพิสโตม่า (Scyphistoma) เริ่มจากไซโกตพัฒนาเป็นตัวอ่อนระยะพลานูล่า (Planula) ภายใน 18-24 ชั่วโมง ก่อนลงเกาะกับวัสดุเป็นระยะไซพิสโตม่าเริ่มต้น (Newly metamorphosed scyphistoma) เมื่ออายุ 4 วัน ไซพิสโตม่ามีการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศ ได้แก่ การแตกหน่อ(Budding) การแตกหน่อแบบสโตลอน (Stolonbudding) และการสร้างซีสต์ (Cyst) และไซพิสโตม่าพัฒนาเข้าสู่ระยะสตรอบิล่า (Strobila) เมื่ออายุ 20 วัน เป็นแบบ Monodiskstrobilation เอฟิร่า (Ephyra) หลุดออกจากสตรอบิล่า เมื่ออายุ 26 วัน และเมื่ออายุ 33 วัน เอฟิร่าพัฒนาการเข้าสู่ระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่าขนาดเล็ก (Small medusa) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางร่มตั้งแต่ 6 มิลลิเมตรขึ้นไป ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิและความเค็มมีอิทธิพลร่วมกันต่อการสืบพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศของไซพิสโตม่าแมงกะพรุนถ้วยหางขน โดยพบจํานวนหน่อใหม่ (ค่าเฉลี่ย±SE) สูงสุดที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (°C)ร่วมกับความเค็ม 20, 10 ส่วนในพันส่วน (ppt) (4.2±0.9, 3.8±0.7 หน่อ ตามลําดับ) (p0.05) ต่อการเกิดซีสต์ (0.0-1.2 ซีสต์) และระยะเวลาการอยู่รอดของไซพิส โตม่า (10.0 - 25.6 วัน)