Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการเติบโตสูง และเพื่อให้ทราบถึงแนวทางนโยบายที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทยในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพหุวิธี (Mixed method research) ประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ทําการวิจัยเชิงพรรณนาด้วยวิธีการสํารวจ (Survey research method) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต จํานวน 214 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทําการวิเคราะห์ทางสถิติในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Independent sample t-test และPearson chi-square การวิเคราะห์จําแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มการเติบโตของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จําแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) แบบวิธีการนําตัวแปรอิสระเข้ามาในสมการทุกตัวแปร (Enter independents together) และการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยวิธีการสร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง หรือ Structural Equation Modeling (SEM) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อยืนยันผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาประเด็นสําคัญที่คาดว่าจะมีผลเกี่ยวข้องกับการเติบโตสูงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงเปรียบเทียบผลการสัมภาษณ์กับผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตสูงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบการ และ/ หรือผู้บริหาร สูงสุดขององค์กรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต และปัจจัยด้านกลยุทธ์และปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตทางด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านคุณลักษณะ การบริหารจัดการองค์กร ด้านการตลาดและการตลาดในระดับสากล และด้านนวัตกรรมขององค์กร และปัจจัยภายนอกองค์กร อาทิเช่น การบริหารจัดการนโยบายของภาครัฐและการสร้างเครือข่ายและคลัสเตอร์ อุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมและและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูง (High-growth SMEs) ในประเทศไทยนั้น ควรดําเนินการควบคู่กันไปในทุกระดับ โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้เกิดการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม