dc.contributor.advisor |
ชำนาญ งามมณีอุดม |
|
dc.contributor.author |
ศิริกุล ชัยโรจน์วงศ์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:51:23Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:51:23Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6469 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการเติบโตสูง และเพื่อให้ทราบถึงแนวทางนโยบายที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทยในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพหุวิธี (Mixed method research) ประกอบด้วยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ทําการวิจัยเชิงพรรณนาด้วยวิธีการสํารวจ (Survey research method) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaire) จากวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต จํานวน 214 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทําการวิเคราะห์ทางสถิติในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ Independent sample t-test และPearson chi-square การวิเคราะห์จําแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อกลุ่มการเติบโตของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต โดยใช้วิธีการวิเคราะห์จําแนกกลุ่ม (Discriminant analysis) แบบวิธีการนําตัวแปรอิสระเข้ามาในสมการทุกตัวแปร (Enter independents together) และการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยวิธีการสร้างโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง หรือ Structural Equation Modeling (SEM) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อยืนยันผลการวิเคราะห์ข้อมูลในแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกําหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาประเด็นสําคัญที่คาดว่าจะมีผลเกี่ยวข้องกับการเติบโตสูงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงเปรียบเทียบผลการสัมภาษณ์กับผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตสูงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิต ประกอบด้วย ปัจจัยภายในองค์กร ได้แก่ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้ประกอบการ และ/ หรือผู้บริหาร สูงสุดขององค์กรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิต และปัจจัยด้านกลยุทธ์และปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตทางด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านคุณลักษณะ การบริหารจัดการองค์กร ด้านการตลาดและการตลาดในระดับสากล และด้านนวัตกรรมขององค์กร และปัจจัยภายนอกองค์กร อาทิเช่น การบริหารจัดการนโยบายของภาครัฐและการสร้างเครือข่ายและคลัสเตอร์ อุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมและและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูง (High-growth SMEs) ในประเทศไทยนั้น ควรดําเนินการควบคู่กันไปในทุกระดับ โดยมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาคการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้เกิดการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
วิสาหกิจขนาดย่อม |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ |
|
dc.subject |
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม |
|
dc.subject |
วิสาหกิจขนาดกลาง |
|
dc.title |
แนวทางนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคการผลิตที่มีการเติบโตสูงในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
Policy guidnce for supporting nd development high growth smes in mnufcturing sector of thilnd |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to study the characteristics of high-growth small and medium enterprises and to understand the appropriate policy guidance for the promotion and development of high-growth small and medium enterprises in the manufacturing sector in Thailand. In this research, mixed method consisted of quantitative and qualitative research methods. In quantitative research, survey research method was used and the data were collected from 214 small and medium enterprises through questionnaires. The data were analyzed through percentage, mean, and standard deviation. Statistical analysis to compare means was performed by means of independent sample t-test and pearson chisquare. The analysis of the factors affecting the growth of small and medium enterprises was done by means of segmentation analysis (Discriminant analysis) which was the method of introducing independent variables into the equation (Enter independents together). The test of the relationship between variables was done by means of Structural Equation Modeling (SEM). In qualitative research (SEM), it consists of 3 parts: review of literature and related documents, focus group discussion to confirm data analysis results from the questionnaire, and in-depth interviews with those involved in policy making for the promotion and development of small and medium enterprises and with entrepreneurs of small and medium enterprises involved in the manufacturing sector in order to find the key issues that were expected to impact the high growth of small and medium enterprises and to include comparison between interview results and results from quantitative research. The results showed that factors that affected the high growth small and medium enterprises in manufacturing sector consisted of (1) internal factors such as the attributes of entrepreneurs/ or top executives of small and medium enterprises in manufacturing sector concerning organizational strategies, organizational features, marketing, international marketing and corporate innovation; and (2) external factors such as management, government policy, networking and industrial clusters. However, the appropriate way to promote and develop small and medium-sized enterprises in the highgrowth SMEs in Thailand was that enterprises at all levels should cooperate by focusing on the promotion and development of small and medium enterprises. These were important factors contributing to the growth of small and medium enterprises. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
การจัดการสาธารณะ |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|