Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่มีต่อกิจกรรม 5 ส. 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในการดําเนินกิจกกรม 5 ส. 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่มีต่อกิจกรรม 5 ส. 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในการดําเนินกิจกรรม 5 ส. ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเครื่องมือในการวิจัย คือ คําถามกึ่งโครงสร้างสําหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของคําถาม จะเป็นประเภทคําถามปลายเปิด (Open-ended question) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นเสนอแนะเพื่อเก็บรายละเอียดของข้อมูลให้ครบถ้วน และวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis โดยดูคําซ้ำของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีความหมายซ้ำกันในข้อคําถามนั้น ๆ และสรุปเป็นผลวิจัยที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผลด้านทัศนคติของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ 16 คน จาก 16 คน มีทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีทัศนคติด้านอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ ด้านพฤติกรรมในระดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 93.75 2. ผลด้านแรงจูงใจของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีการยอมรับนับถือเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 14 คน จาก 16 คน มีความสําเร็จของงานเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 87.50 ผู้ให้สัมภาษณ์ 12 คน จาก 16 คน มีความกาวหน้าในตําแหน่งงานเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 8 คน จาก 16 คน มีลักษณะงานที่ปฏิบัติเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 50 และผู้ให้สัมภาษณ์ 3 คน จาก 16 คน มีความรับผิดชอบเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.75 3. ผลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 93.75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 13 คน จาก 16 คน มีส่วยร่วมในการตัดสินใจทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 81.25 ผู้ให้สัมภาษณ์ 11 คน จาก 16 คน ส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 75 จากการสัมภาษณ์บุคลากรจํานวน 16 ท่าน พบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อนํามาปรับปรุงให้กิจกรรม 5 ส. ประสบความสําเร็จตามที่ตั้งไว้