dc.contributor.advisor |
ศุภสิทธิ์ เลิศบัวสิน |
|
dc.contributor.author |
สริญญา จีนประชา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:51:16Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:51:16Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6437 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติ แรงจูงใจการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่มีต่อกิจกรรม 5 ส. 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในการดําเนินกิจกกรม 5 ส. 3) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีที่มีต่อกิจกรรม 5 ส. 4) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีในการดําเนินกิจกรรม 5 ส. ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยเครื่องมือในการวิจัย คือ คําถามกึ่งโครงสร้างสําหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของคําถาม จะเป็นประเภทคําถามปลายเปิด (Open-ended question) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความคิดเห็นเสนอแนะเพื่อเก็บรายละเอียดของข้อมูลให้ครบถ้วน และวิเคราะห์เนื้อหา Content analysis โดยดูคําซ้ำของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีความหมายซ้ำกันในข้อคําถามนั้น ๆ และสรุปเป็นผลวิจัยที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ ผลจากการวิจัย พบว่า 1) ผลด้านทัศนคติของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ 16 คน จาก 16 คน มีทัศนคติด้านความรู้ความเข้าใจมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีทัศนคติด้านอารมณ์ ความรู้สึกและทัศนคติ ด้านพฤติกรรมในระดับรองลงมา คิดเป็นร้อยละ 93.75 2. ผลด้านแรงจูงใจของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีการยอมรับนับถือเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 14 คน จาก 16 คน มีความสําเร็จของงานเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. รองลงมา คิดเป็นร้อยละ 87.50 ผู้ให้สัมภาษณ์ 12 คน จาก 16 คน มีความกาวหน้าในตําแหน่งงานเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 8 คน จาก 16 คน มีลักษณะงานที่ปฏิบัติเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 50 และผู้ให้สัมภาษณ์ 3 คน จาก 16 คน มีความรับผิดชอบเป็นแรงจูงใจในการทํากิจกรรม 5 ส. น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.75 3. ผลด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สรุปผลได้คือผู้ให้สัมภาษณ์ 15 คน จาก 16 คน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมและมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์จากการทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 93.75 ผู้ให้สัมภาษณ์ 13 คน จาก 16 คน มีส่วยร่วมในการตัดสินใจทํากิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 81.25 ผู้ให้สัมภาษณ์ 11 คน จาก 16 คน ส่วนร่วมในการประเมินผลกิจกรรม 5 ส. คิดเป็นร้อยละ 75 จากการสัมภาษณ์บุคลากรจํานวน 16 ท่าน พบถึงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะเพื่อนํามาปรับปรุงให้กิจกรรม 5 ส. ประสบความสําเร็จตามที่ตั้งไว้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี -- บุคลากร |
|
dc.subject |
การจูงใจในการทำงาน |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร |
|
dc.subject |
กิจกรรม 5 ส |
|
dc.title |
ทัศนคติ แรงจูงใจ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินกิจกรรม 5 ส. ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
Attitude, motivtion, prticiption of personnel in operting 5-S ctivity of Chon Buri Provincil Administrtive Orgniztion |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This study attempts to 1) to study attitude, motivation, and participation of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization toward 5-S activity; 2) to study attitudes of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization toward 5-S activity; 3) to study motivation of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization toward 5-S activity; and 4) to study the participation of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization toward 5-S activity. This qualitative study applied semi-structured questions for in-depth interviews. The questions were from reviewing concepts, theories, and related research studies. Researcher applied open-ended questions in order to provide opportunities for interviewees to express their thought and suggestions. Content analysis were applied by observing the repetition of words or synonyms in each question. The conclusion was shaped with research questions. The findings are as follows: 1) For attitudes of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization, 16 from 16 interviewees or 100 per cent reveal that the attitude on knowledge and understand reached the highest scores. 15 from 16 interviewees or 93.75 per cent had the attitude on emotion, feeling and behavioral attitude. 2) For motivation of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization can be summarized that 15 from 16 interviewees or 93.75 per cent paid respect on motivation toward 5-S activity. 14 from 16 interviewees or 87.50 per cent had work achievement as the motivation in doing 5-S activity. 12 from 16 interviewees or 75.00 per cent had career advancement as the motivation in doing 5-S activity. 8 from 16 interviewees or 50.00 per cent had current work description as the motivation in doing 5-S activity. 3 from 16 interviewees or 18.75 per cent had responsibility as the motivation in doing 5-S activity. The results from the participation of personnel in Chon Buri Provincial Administrative Organization are as follows: 15 from 16 interviewees or 93.75 per cent participated in 5-S activity and earned the benefit from the activity. 13 from 16 interviewees or 81.25 per cent participated in making decision on 5-S activity. 11 from 16 interviewees or 75.00 per cent participated in evaluating 5-S activity. All in all, problems, obstacles and suggestions to improve 5-S activity were found in the study as expected. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
บริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร |
|
dc.degree.name |
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|