Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสภาพปัญหาในการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนและเพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกบนเส้นทาง R3A สู่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็ นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้ าหมายได้แก่เกษตรกร ผู้รวบรวมผู้ส่งออกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และด่านศุลกากรเชียงของ จํานวน 17 ท่านและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมตั้งแต่พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมกลุ่มเกษตรกร ผู้รวบรวม และผู้ส่งออกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรีกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี ด่านศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรประสบกับภาวะภัยแล้ง การระบาดของโรคและแมลง ศัตรูพืชการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง สภาพปัญหาของกลุ่มผู้รวบรวมพบว่า ผลผลิตไม่ได้มาตรฐานการส่งออกและความเสียหายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต สภาพปัญหาของกลุ่มผู้ส่งออกพบว่า ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการการรับผิดชอบในสินค้าที่เสียหายในระหว่างการจัดส่งคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานต่าง ๆ ของโรงงาน และการถูกฉ้อโกงจากคู่ค้าชาวจีนสภาพปัญหาของกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์พบว่า การเปลี่ยนหัวรถลากที่ด่านบ่อเต็นทำให้มี่าใช้จ่ายและใช้เวลาการขนส่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งสภาพถนนชํารุดมากในสปป. ลาวสภาพปัญหาของด่านศุลกากรเชียงของพบว่า เอกสารหลักฐาน ไม่ครบถ้วน สําหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน R3A สู่ สาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่า มะพร้าวน้ำหอมที่เป็นผลผลิตจากเกษตรกรจะถูกส่งให้แก่ผู้รวบรวมเพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพในโรงงานผลิต โดยโรงงานผลิตพร้อมรับประทาน มี 2 รูปแบบคือมะพร้าวน้ำหอมแบบควั่นและมะพร้าวน้ำหอมแบบเจีย หลังจากผ่านกระบวนการแปรสภาพก็เข้าสู่กระบวนการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมในบรรจุภัณฑ์จะเก็บรักษาในห้องควบคุมอุณหภูมิเพื่อรอการจำหน่ายในระหว่างกระบวนการผลิตผู้ส่งออกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะจัดทำเอกสารที่ใช้ในการส่งออกเพื่อใช้ผ่านพิธีศุลากร เมื่อเอกสารเรียบร้อย มะพร้าวน้ำหอมจะถูกส่งไปสู่ลูกค้าโดยรถตู้คอนเทนเนอร์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และและ ใช้เส้นทาง R3A ระยะทางจากจังหวัดสมุทรสาครถึงคุนหมิง 2,003 กิโลเมตร และจังหวัดราชบุรีถึง คุนหมิง 2,024 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการขนส่ง 5-7 วัน