DSpace Repository

การจัดการห่วงโซ่อุปทานมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกบนเส้นทาง R3A สู่สาธารณรัฐประชาชนจีน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณภัคอร ปุณยภาภัสสรา
dc.contributor.author โศภชา บรรณทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.available 2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6434
dc.description งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสภาพปัญหาในการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนและเพื่อศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกบนเส้นทาง R3A สู่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็ นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้ าหมายได้แก่เกษตรกร ผู้รวบรวมผู้ส่งออกผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และด่านศุลกากรเชียงของ จํานวน 17 ท่านและการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมตั้งแต่พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมกลุ่มเกษตรกร ผู้รวบรวม และผู้ส่งออกในจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดราชบุรีกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี ด่านศุลกากรเชียงของ จังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเกษตรกรประสบกับภาวะภัยแล้ง การระบาดของโรคและแมลง ศัตรูพืชการถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง สภาพปัญหาของกลุ่มผู้รวบรวมพบว่า ผลผลิตไม่ได้มาตรฐานการส่งออกและความเสียหายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต สภาพปัญหาของกลุ่มผู้ส่งออกพบว่า ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการการรับผิดชอบในสินค้าที่เสียหายในระหว่างการจัดส่งคุณภาพของสินค้าและมาตรฐานต่าง ๆ ของโรงงาน และการถูกฉ้อโกงจากคู่ค้าชาวจีนสภาพปัญหาของกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์พบว่า การเปลี่ยนหัวรถลากที่ด่านบ่อเต็นทำให้มี่าใช้จ่ายและใช้เวลาการขนส่งเพิ่มขึ้นรวมทั้งสภาพถนนชํารุดมากในสปป. ลาวสภาพปัญหาของด่านศุลกากรเชียงของพบว่า เอกสารหลักฐาน ไม่ครบถ้วน สําหรับการจัดการห่วงโซ่อุปทาน R3A สู่ สาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่า มะพร้าวน้ำหอมที่เป็นผลผลิตจากเกษตรกรจะถูกส่งให้แก่ผู้รวบรวมเพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพในโรงงานผลิต โดยโรงงานผลิตพร้อมรับประทาน มี 2 รูปแบบคือมะพร้าวน้ำหอมแบบควั่นและมะพร้าวน้ำหอมแบบเจีย หลังจากผ่านกระบวนการแปรสภาพก็เข้าสู่กระบวนการบรรจุในบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมในบรรจุภัณฑ์จะเก็บรักษาในห้องควบคุมอุณหภูมิเพื่อรอการจำหน่ายในระหว่างกระบวนการผลิตผู้ส่งออกและผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะจัดทำเอกสารที่ใช้ในการส่งออกเพื่อใช้ผ่านพิธีศุลากร เมื่อเอกสารเรียบร้อย มะพร้าวน้ำหอมจะถูกส่งไปสู่ลูกค้าโดยรถตู้คอนเทนเนอร์ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์และและ ใช้เส้นทาง R3A ระยะทางจากจังหวัดสมุทรสาครถึงคุนหมิง 2,003 กิโลเมตร และจังหวัดราชบุรีถึง คุนหมิง 2,024 กิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการขนส่ง 5-7 วัน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มะพร้าวน้ำหอม -- การส่งออก
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
dc.title การจัดการห่วงโซ่อุปทานมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกบนเส้นทาง R3A สู่สาธารณรัฐประชาชนจีน
dc.title.alternative Supply chin mngement of coconut for export to people's republic of chin on the r3 route
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The findings reveal that problems in farmer group included drought, epiphytotic or the outbreak of pest, being exploited from intermediaries. The problems from collectors were products that were lower than exporting standard and the damages during production process. The problems on exporters' side were insufficient products, the responsibility on damaged products during transportation, product quality and standard of factory, and being defraud from Chinese counterparts. The problems of logistic service providers included the change of tractors at Bo Ten customs house increase more expense and time (2-3 hours) and ruined road condition in Lao PDR. The problem found in Chiang Khong customs house included incomplete document. The study on supply chain management of coconut for export to PRCon the R3A route reveals that coconut is the raw product harvesting by farmers. Trailers will transport raw products from the farm to collector for production procedures or processing procedures. Manufacturers would produce or process raw products to finished products (husked or cut) and products will be packed in export standard box. The coconut in this process is now ready to drink. Then, coconut will move to temperature-controlling room await for distribution. During production process, exporters and logistic service providers will prepare exporting document. When documents are ready, container will distribute coconut to customers via R3A route. The distance from Samut Sakorn Province to Kunmíng is 2,003 kilometers and the route from Ratchaburi Province to Kunming is 2,024 kilometers. It takes 5 to 7 days for this transportation.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการธุรกิจโลก
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account