Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อบริษัท รักษาความปลอดภัย ดวงพรดี จํากัด 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะอาชีพรักษาความปลอดภัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อบริษัท รักษาความปลอดภัย ดวงพรดี จํากัด และ 3) เพื่อหาแนวทางในการยกระดับสมรรถนะอาชีพรักษาความปลอดภัยของ บริษัท รักษาความปลอดภัย ดวงพรดี จํากัด ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1) หน่วยงานราชการ 2) สถาบันการเงิน 3) หน่วยงานเอกชน จํานวน 374 คน เก็บได้ 350 ชุด คิดเป็นร้อยละ 93.58 ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ จํานวน (Frequency) และร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) การทดสอบความมีนัยสําคัญระหว่างค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือ หรือ การทดสอบค่าทีแบบ One-sample t-test และ One-way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า สถานภาพส่วนบุคคล เป็นหญิงร้อยละ 53.70 อายุ 25-35 ปี ร้อยละ 54.30 สังกัดฝ่ายทรัพยากรบุคคล ร้อยละ 46.00 ระดับหัวหน้างานร้อยละ 59.70 เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ร้อยละ 65.40 ประสบการณ์/ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอายุงาน 1-4 ปี มากที่สุดร้อยละ 60.30 ระยะเวลาที่ใช้บริการรักษาความปลอดภัยของบริษัท รักษาความปลอดภัย ดวงพรดี จํากัด 1-4 ปี มากที่สุดร้อยละ 66.90 และประสบการณ์ในการใช้บริการของบริษัทอื่น ส่วนใหญ่ไม่เคยใช้บริการจากที่อื่น สําหรับการศึกษาตามวัตถุประสงค์มีดังนี้ 1) ภาพรวมความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีผลต่อ บจก. รักษาความปลอดภัย ดวงพรดี อยู่ในระดับมาก ( X = 4.11, SD = 0.49) จําแนกตามรายข้อ ด้านการมีข้อร้องเรียน แต่ยังกลับมาใช้บริการ ( X = 4.45, SD = 0.44), ด้านความตั้งใจที่จะซื้อ ( X = 4.25, SD = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความอ่อนไหวต่อราคา ( X = 3.97, SD = 0.80) และด้านการบอกต่อ ( X = 3.76, SD = 0.87) อยู่ในระดับมาก ตามลําดับ 2) ภาพรวมสมรรถนะ บจก. รักษาความปลอดภัยดวงพรดี อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.28, SD = 0.36) โดยมีรายข้อ 3 อันดับแรก คือ ด้านรายงานผลการตรวจสอบการผ่านเข้าออกของบุคคลให้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่แจ้งไว้ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ( X = 4.49, SD = 0.43), ด้านตรวจสอบรายการทรัพย์สินส่วนกลางที่รับมอบจากลูกค้าตามวิธีการปฏิบัติงานที่กำหนด ( X = 4.39, SD = 0.42) และด้านตรวจสอบการผ่านเข้าออกของบุคคลในพื้นที่ที่รับผิดชอบตามมาตรการที่กำหนด ( X = 4.38, SD = 0.40) อยู่ในระดับมากที่สุดตามลําดับ ส่วนด้านบันทึกการผ่านเข้าออกของบุคคลและรายงานต่อผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ เกี่ยวข้อง ( X = 3.98, SD = 0.68) มีระดับ สมรรถนะน้อยสุด แต่ก็อยู่ในระดับมาก 3) แนวทางในการพัฒนา มี 2 ด้าน คือ 1) การพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ดําเนินการฝึกอบรมบุคลากร ด้านบันทึกผลการตรวจตราที่ผิดปกติให้ครบถ้วน ถูกต้องตามแบบรายงาน การผ่านเข้าออกของบุคคลได้มีการบันทึกในสมุดประจําวันไว้อย่างถูกต้องครบถ้วน ด้านบันทึกผลการตรวจตราที่ผิดปกติให้ครบถ้วนถูกต้องตามแบบรายงาน ผลการตรวจ ตราพื้นที่ผิดปกติได้รับการบันทึกไว้อยางถูกต้องครบถ้วน 2) ด้านความจงรักภักดีทําการฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับทั่วทั้งองค์การ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสําคัญของความภักดีที่ลูกค้ามีต่อบริษัท โดยเฉพาะ ด้านความอ่อนไหวต่อราคา และด้านการบอกต่อ