dc.contributor.author |
ปิยนุช คนฉลาด |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:52:58Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:52:58Z |
|
dc.date.issued |
2538 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/629 |
|
dc.description.abstract |
จุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน และ การเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้เพลงและการสอนปกติ การวิจัยเป็นแบบทดลองมีการทดสอบก่อน-หลังการเรียน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน จากโรงเรียนวัดราษร์ศรัทธา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชลบุรี
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบผลสัมฤทธิผลทางการอ่านและการเขียนซึ่งผู้วิจัยสรา้งขึ้นเอง โดยยึดตามแผนการสอนกลุ่มทักษะในบทที่ 8 และ 9 เรื่องเล่นแล้ว เก็บด้วยและสะพานร่วมใจ ตามหลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) แบบทดสอบได้หาคุณภาพโดยผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความรู้ความถูกต้องของเนื้อหา (content validity) วิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ และนำข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไป จำนวน 30 ข้อ ไปหาความเชื่อมั่นตามวิธีของ คูเดอร์และริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) ได้ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.89
การดำเนินการวิจัย แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มทดลองสอนโดยใช้เพลงประกอบการสอนและกลุ่มที่ 2 เป็น กลุ่มควบคุมสอนโดยใช้วิธีสอนปกติ ผู้สอนทั้ง 2 กลุ่ม เป็นนิสิตชั้นปีที่ 3 วิชาเอกการประถมศึกษา ซึ่งกำลังเรียนวิชาภาษาไทยสำหรับครูประถมในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2535 นักเรียนทั้ง สองกลุ่มได้มีการทดสอบคุณลักษณะก่อนเรียน (pretest) นำผลมาเปรียบเทียบกันด้วย t-test ปรากฎว่าผลการทดสอบแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แล้วดำเนินการสอนกลุ่มละ 30 คาบ ๆ ละ 20 นาที รวมเป็นเวลา 10 วัน หลังจากการสอนสิ้นสุดลง ได้มีการทดสอบหลังเรียน (posttest) แล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์ด้วย t-test ผลการวิจัยปรากฎว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มที่ใช้การสอนแบบการใช้เพลงประกอบการสอนมีคะเนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีสอนปกติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การรศึกษาขั้นประถม |
th_TH |
dc.subject |
ภาษาไทย - - การศึกษาและการสอน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอ่านและเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน โดยใช้เพลงและการสอนปกติ |
th_TH |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2538 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to compare learning achievement on reading and writing Thai language of Prathom Suksa II students by using song and conventional methods. The experimental research by conducting pretest and posttest was empolyed in this study. The purposive sampling of 50 Prathom suksa II students from Wat Ratsatta school under the Office of Chon Buri Provincial Primary Education was the subject. The research instrument was the reading and writing achievement test constructed by the researcher. The subject matter included was on the skilled subject group in Chapter 8 and 9 entitled "Playing and Keeping",and "Common Heart Bridge" of Prathom Suksa B.E. 2521 Curriculm (revision in B.E. 2533). The content validity of the test was approved by the experienced Thai teachers. The discrimination value of a 30 item test of being .20 and over was selected to analyze for its reliability by means of Kuder-Richardson method and its reliability was .89 In conducting the research,50 students were divided into two groups with 25 students of each group. The experimental group was taught by song and the controlled group was taught by conventional method. The teachers, two junior students, majoring elementary education who were studying teaching Thai in the Elementary school were trainned and assigned to teach in each group. Pretest was assigned to each graoup and it was analyzed by t-test. The result of the test was found nonsignificantly different. The teaching periods of each group were 30 and 20 minutes for each period were used. By the end of teaching period, the posttest was assigned.
The findings of this research revealed that the achievement on reading and writing of the two groups were found significantly different at the 0.5 level. The mean score of the experimental group by using song was higher than the mean score of the controlled group by using conventional method. |
en |