Abstract:
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุน จํานวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคว์ (Chi-square test) ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอายุในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-25,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตําแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และพักอาศัยบ้านพักบ้านพักสวัสดิการและบ้านพักส่วนตัวมีสัดส่วนที่เท่ากัน ผลการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีแรงจูงใจในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น แรงจูงใจด้านเงินเดือน ด้านโอกาสที่ได้รับความก้าวหน้าในตําแหน่ง และด้านสภาพการทํางาน อยู่ในระดับปานกลาง สําหรับผลการปฏิบัติงาน รอบที่ 2 (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559) พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีเด่น มากที่สุด รองลงมา คือ ระดับดีมาก และระดับดีตามลําดับ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า รายได้ และปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตําแหน่งงาน ปัจจัยค้ำจุน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงาน