DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ

Show simple item record

dc.contributor.advisor กาญจนา บุญยัง
dc.contributor.author รัตนา คงสืบ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:42:19Z
dc.date.available 2023-05-12T02:42:19Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6296
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผลการปฏิบัติงาน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ประชากร คือ บุคลากรสายสนับสนุน จํานวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคว์ (Chi-square test) ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอายุในการปฏิบัติงาน 6-10 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-25,000 บาท และส่วนใหญ่เป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ตําแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และพักอาศัยบ้านพักบ้านพักสวัสดิการและบ้านพักส่วนตัวมีสัดส่วนที่เท่ากัน ผลการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า บุคลากรสายสนับสนุนมีแรงจูงใจในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น แรงจูงใจด้านเงินเดือน ด้านโอกาสที่ได้รับความก้าวหน้าในตําแหน่ง และด้านสภาพการทํางาน อยู่ในระดับปานกลาง สําหรับผลการปฏิบัติงาน รอบที่ 2 (วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559) พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีเด่น มากที่สุด รองลงมา คือ ระดับดีมาก และระดับดีตามลําดับ ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า รายได้ และปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนระดับการศึกษาระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตําแหน่งงาน ปัจจัยค้ำจุน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับผลการปฏิบัติงาน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แรงจูงใจในการทำงาน
dc.subject บุคลากรทางการศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ
dc.title.alternative Fctors relted to job performnce mong supporting personnel in rjmngl university of technology twn-ok, bngpr cmpus
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to examine a level of work motivation, job performance, and factors related to the level of job performance among supporting personnel working for Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, Bangpra campus. The population of this study included 123 supporting employees. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical tests used to analyze the collected data included frequency, percentage, means, and standard deviation. To determine the relationship, the test of Chi-Square was administered. The results of this study revealed that the majority of supporting staff working for Rajamangala University of Technology Tawan-Ok, Bangpra campus were female, aged 31-40, holding a bachelor’s degree, being single with work length of 6-10 years, and having an average amount of monthly income of 20,001-25,000 baht. Also, most of them were employees working for higher educational institutions, residing in both government-provided housing and privatelyowned houses. Furthermore, it was shown that the subjects demonstrated a high level of work motivation in every aspect except that of salary. The aspects of work motivation in relation to job advancement and work conditions were rated at a moderate level. In addition, based on the results of the 2nd work appraisal (October 01, 2016), it was shown that the majority of the personnel performed at an excellent level, followed by those who were evaluated at a good level, and a fair level, respectively. It was also found that there were statistically significant relationships among the amount of income, work motivational factors, and job performance of the supporting staff at a significant level of .05. Finally, no statistically significant relationships were found among the variables of educational level, work length, work position, supporting factors, work motivation, and the level of job performance
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารทั่วไป
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account