Abstract:
การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยอง ตามการรับรู้ของประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดระยอง (2) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ทำการศึกษาความคิดเห็นในช่วงเวลาหนึ่งโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบแบ่งกลุ่ม (Multistage sampling) และแบ่งแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ให้ได้จำนวน 400 คน จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา คือค่าเฉลี่ย (Mean: ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) และใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ และสถิติ F-test หากพบว่า มีความแตกต่างจะใช้การทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อย 50.5 และ เพศหญิงร้อยละ 49.5 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.25 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา/ ปวช. คิดเป็นร้อยละ55.25 มีอาชีพส่วนใหญ่คืออาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 46.75 และมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.00 ภาพลักษณ์โดยรวมของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน จำนวน 5 ด้าน อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านการบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านข้อมูลและด้านประชาสัมพันธ์ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน ประชาชนที่มีอายุระดับการศึกษาอาชีพ รายได้ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้น ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน