DSpace Repository

ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อุษณากร ทาวะรมย์
dc.contributor.author นิกุลญาดา บุญส่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:39:18Z
dc.date.available 2023-05-12T02:39:18Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6264
dc.description งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง “ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยอง ตามการรับรู้ของประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดระยอง (2) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative) ทำการศึกษาความคิดเห็นในช่วงเวลาหนึ่งโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรแบบแบ่งกลุ่ม (Multistage sampling) และแบ่งแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ให้ได้จำนวน 400 คน จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา คือค่าเฉลี่ย (Mean:  ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) และใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ และสถิติ F-test หากพบว่า มีความแตกต่างจะใช้การทดสอบเป็นรายคู่ด้วยวิธี Scheffe ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายคิดเป็นร้อย 50.5 และ เพศหญิงร้อยละ 49.5 มีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 49.25 มีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา/ ปวช. คิดเป็นร้อยละ55.25 มีอาชีพส่วนใหญ่คืออาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 46.75 และมีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 34.00 ภาพลักษณ์โดยรวมของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน จำนวน 5 ด้าน อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านการบริการ ด้านเจ้าหน้าที่ ด้านข้อมูลและด้านประชาสัมพันธ์ในส่วนของการทดสอบสมมติฐาน ประชาชนที่มีอายุระดับการศึกษาอาชีพ รายได้ต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ยกเว้น ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีการรับรู้ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยอง ไม่แตกต่างกัน
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาพลักษณ์องค์กร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.title ภาพลักษณ์ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดระยองตามการรับรู้ของประชาชน
dc.title.alternative Imge of dmrongdhm center ryong province in the perception of people
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was twofold. First, it aimed at examining the image of Damrongdhama Center based on the perception of people living in Rayong Province. Also, this study intended to compare a level of public perception of Damrongdhama Center as classified by gender, age, educational level, occupation, and amount of income. This quantitative study surveyed the public opinion during a period of time by using a questionnaire as an instrument to collect the data. 400 subjects were recruited by a multi-stage sampling technique and a stratified random sampling technique. The collected data were then analyzed by descriptive statistics, using means and standard deviation. The tests of t-test and Ftest were also administered to compare the differences in the subjects’ demographics. The test of Scheffe was employed to test the differencesbetween pairs. The results of this study revealed that the majority of the respondents were male (50.5%) and female (49.5%), aged between 21-30 (49.25%), holding a secondary school certificate/ lower vocational certificate (55.25%). Also, they had their own business (46.75%), having an amount of income between 5,001-10,000 baht (34.00%) . It was shown that the subjects rated the five aspects regarding Damrongdhama Center at a good level. These included the aspects in relation to its organization, service, staff officers, information, and public relations. In addition, it was found that, based on the tests of hypotheses, there were statistically significant differences in the level of perception toward Damrongdhama Center among the subjects with different age, educational level, occupation, and amount of income at a significant level of .05. Finally, no statistically significant difference was found in the level of perception toward Damrongdhama Center among the subjects with different gender
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account