dc.contributor.advisor |
เอกรัฐ ศรีสุข |
|
dc.contributor.advisor |
กฤษนัยน์ เจริญจิตร |
|
dc.contributor.advisor |
กาญจนา หริ่มเพ็ง |
|
dc.contributor.author |
วัชราพร ธรรมโชติ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T02:37:29Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T02:37:29Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6238 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกสารบริสุทธิ์จากใบของมะฮึก (Clausena excavata Burm. f.) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC 25923 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไวต่อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-susceptible Staphylococcus aureus, MSSA) และ S. aureus ATCC 43300 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อยาเมทิซิลลิน (Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA)โดยใช้วิธีการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพนำการคัดแยกสาร (Bioassay-guided isolation) และวิเคราะห์โครงสร้างของสารบริสุทธิ์ที่ได้โดยใช้เทคนิคทางเอ็นเอ็มอาร์ สเปคโทรสโคปีโดยทำการเตรียมสารสกัดหยาบจากใบมะฮึกโดยใช้ตัวทำละลายเอทานอลและนำสารสกัดหยาบเอทานอลที่ได้มาทำการสกัดแยกลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายเฮกเซนและเอทิลอะซิเตท ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดทั้งสามชนิดที่ได้มาทำการทดสอบฤทธิ์ยับยั้ง S. aureus ATCC 25923 (MSSA) และ S. aureus ATCC 43300 (MRSA) ด้วยวิธี disk diffusion พบว่า ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทของมะฮึกแสดงฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทดสอบทั้งสองชนิดได้ดีที่สุด การตรวจหาค่าความเข้มข้นของสารสกัดเอทิลอะซิเตทจากใบมะฮึกที่ต่ำที่สุดที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย (Minimum inhibitory concentration, MIC) และฆ่าแบคทีเรีย (Minimum bactericidal concentration, MBC) ด้วยวิธี broth macrodilution พบว่า ค่า MIC และ MBC ของสารสกัดเอทิลอะซิเตทจากใบมะฮึกที่ใช้ในการต้านแบคทีเรียทดสอบทั้งสองสายพันธุ์มีค่าอยู่ในช่วง 32-64 และ 128-256 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ การคัดแยกสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียทดสอบจากส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตท โดยทำการแยกสารประกอบ ต่าง ๆ ในส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตทด้วยคอลัมน์โครมาโตกราฟีตรวจสอบรูปแบบและฤทธิ์ต้านแบคทีเรียทดสอบของสารที่แยกได้แต่ละส่วนแยกย่อยด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟีแบบเยื่อบาง และไบโอออโตกราฟี (bioautography) ตามลำดับ สามารถแยกสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ยับยั้ง MSSA และ MRSA ได้จากส่วนแยกย่อยลำดับที่ F3 และ F6 เมื่อนำมาวิเคราะห์หาโครงสร้างทางเคมีพบว่า สารบริสุทธิ์ทั้งสองชนิดที่แยกได้ คือ 5-geranyloxy-7-hydroxycoumarin และ Clauslactone A ตามลำดับ โดยค่า MIC ของสารทั้งสองชนิดอยธ่ในช่วง 2-4 และ 256-512 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ค่า MBC ของ 5-geranyloxy-7-hydroxycoumarin อยู่ในช่วง 2-8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่ค่า MBC ของ Clauslactone A ที่ระดับความเข้มข้นสูงสุดที่ใช้ทดสอบยังไม่สามารถฆ่าเชื้อทดสอบได้ (1024 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) การสำรวจการกระจายเชิงพื้นที่ของต้นมะฮึกในพื้นที่โครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด ตำบลตกพรม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีพบต้นมะฮึก กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ที่ทำการศึกษาโดยส่วนใหญ่การเจริญเติบโตของต้นที่อยู่ภายในป่าจะมีขนาดเล็กกว่าต้นที่พบบริเวณขอบป่า |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ |
|
dc.subject |
แบคทีเรีย -- สารยับยั้ง |
|
dc.subject |
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.subject |
มะฮึก |
|
dc.subject |
พืชสมุนไพร -- การใช้รักษา |
|
dc.title |
การประเมินศักยภาพในการต้านแบคทีเรียและการกระจายเชิงพื้นที่ของมะฮึก Clausena excavata Burm. f. ในโครงการพัฒนาป่าชุมชนบ้านอ่างเอ็ด (มูลนิธิชัยพัฒนา) จังหวัดจันทบุรี |
|
dc.title.alternative |
Potentil evlution of ntimicrobil ctivity nd sptil distibution of clusen excvt burm.f. in bn ng-ed officil community forest, chntburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The main objective of this research was to isolate and characterize the purified bioactive compounds possessing antibacterial activity against Methicillin susceptible Staphylococcus aureus (MSSA) and Methicillin resistant S. aureus (MRSA) from the leaves of Clausena excavata Burm f. using bioassay guided isolation and NMR spectroscopy, respectively. Crude extract of the plant leaves was prepared using 95% ethanol and then the plant ethanol extract was subjected to further sequential extract with the other two solvents, namely hexane and ethyl acetate, respectively. Antibacterial activity of those plant extracts against the strains of MSSA (S. aureus ATCC 25923) and MRSA (S. aureus ATCC 43300) was investigated via disk diffusion method. As a result, the ethyl acetate extract revealed the most potent effect against the tested strains. The minimum inhibitory concentration (MIC) and minimum bactericidal concentration (MBC) of those extracts were also determined through broth macrodilution method. With a similar activity, the MIC and MBC values of the ethyl acetate extract against both strains of the tested bacteria were within the range of 32-64 µg/ml and 128-256 µg/ml, respectively. The antibacterial compounds consisting in the ethyl acetate extracts were isolated and purified using Bioassay guided isolation technique which includes a sequential fractionation of the extract through column chromatography and antibacterial activity analysis via thin layer chromatography and bioautography, respectively. As a result, two purified active compounds were isolated from the subtractions no F3 and no F6, respectively. The chemical structure of these compounds were identified as 5-geranyloxy-7-hydroxycoumarin and Clauslactone A by NMR spectroscopy, respectively. The MIC values of their compound were in range of 2-4 and 256-512 µg/ml, respectively. The MBC values of 5-geranyloxy-7-hydroxycoumarin were in range of 2-8 µg/ml whereas the MBC values of Clauslactone A clould not detected at the highest test concentration (1024 µg/ml). Finally, the spatial distribution of the C. excavata Burm. f. in Ban Ang-Ed official community forest was investigated. Although, the C. excavate trees were found scattered throughout the studied area, most of the treesgrowth inside the forest were smaller than the outside ones |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|