DSpace Repository

ผลของการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ร่วมกับยีสต์ปฎิปักษ์ Issatchenkia orientalis VCU24 ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้

Show simple item record

dc.contributor.advisor อนุเทพ ภาสุระ
dc.contributor.author พุทธพร ชัยวงสา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:37:29Z
dc.date.available 2023-05-12T02:37:29Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6237
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ 3 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ข่าและเปลือกมังคุด น้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ Citronellal Eugenol และ Xanthones โดยใช้วิธี Poisonedfood technique รวมทั้งการศึกษาการประยุกต์ใช้ยีสต์ ปฏิปักษ์ Issatchenkia orientalis VCU24 ร่วมกับน้ำมันหอมระเหยบางชนิด ในการควบคุมเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุของโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดหยาบจากตะไคร้หอม และข่า สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ได้ 100% ที่ความเข้มข้น 0.25% (v/v) และ 0.5% (v/v) ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดหยาบจากเปลือกมังคุดที่ระดับความเข้มข้น 12% (v/v) สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราที่ก่อโรคได้ 89.9±0.37% สำหรับน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ พบว่า Eugenol ที่ความเข้มข้น 0.062% (v/v) และ Citronellal ที่ความเข้มข้น 0.5% (v/v) สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ 98.8±0.00% และ 100% ตามลำดับ ในขณะที่ Xanthones ที่ความเข้มข้น 8.0% (v/v) สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้ดีที่สุด 72.6±0.00% ส่วนการใช้น้ำมันหอมระเหย Citronellal ความเข้มข้น 0.062% (v/v) ร่วมับยีสต์ปฏิปักษ์ I. orientalis VCU24 และชุดทดสอบที่ใช้ Citronellal ความเข้มข้น 0.062% (v/v) เพียงอย่างเดียว พบว่า สามารถลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ได้เท่ากับ 81.73±2.71% และ 30.13±17.24% ตามลำดับ ในขณะที่การใช้สารกำจัดเชื้อรา Carbendazim มีประสิทธิภาพในการลดการเกิดโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ได้ 92.10±1.38% การศึกษาปริมาณเชื้อยีสต์ปฏิปักษ์ I. orientalis VCU24 ในรอยแผลบนผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ในชุดทดสอบที่แตกต่างกัน พบว่า ในชุดควบคุมที่ใส่ยีสต์อย่างเดียว ชุดทดสอบที่ใส่น้ำมันหอมระเหย Citronellal ที่ความเข้มข้น 0.062% (v/v) ร่วมกับยีสต์ปฏิปักษ์ พบว่า ยีสต์I. orientalis VCU24 มีปริมาณเชลล์ยีสต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p< 0.05) โดยสามารถนับจำนวนได้ 8.85±0.52 และ 8.78±0.04 Log10CFU/ wound ตามลำดับ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.subject น้ำมันหอมระเหย -- วิจัย
dc.title ผลของการใช้สารสกัดจากพืชสมุนไพรและน้ำมันหอมระเหยบริสุทธิ์ร่วมกับยีสต์ปฎิปักษ์ Issatchenkia orientalis VCU24 ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้
dc.title.alternative Effects of medicinl plnt crude extrcts, pure voltile oilsin combintion with ntgonistic yest isstchenki orientlis vcu24in controlling ntrcnose of mngo cv. nm dok mi
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to examine the efficacy of medicinal plant crudes from Cymbopogon nardus, Alpinia galangal and Garcinia mangostana, their pure volatile oils; citronellal, eugenol and xanthones using poisoned food technique and application of antagonistic yeast Issatchenkia orientalis VCU24 combined with some volatile oils to control antracnose of mango cv. Nam Dok Mai caused by Colletotrichum gloeosporioides. The results showed that the mycelial growth of C. gloeosporioides was completely inhibited by citronellal grass and galangal crude extracts at 0.25% (v/v) and 0.5% (v/v), respectively. In contrast, mangosteen crude extract at 12% (v/v) concentration inhibited the mycelial growth of C. gloeosporioides by 89.9±0.37%. The effects of pure volatile oils, eugenol and citronellal, inhibited 98.8±0.00% and 100% mycelialgrowth of C. gloeosporioides at 0.062% (v/v) and 0.5% (v/v), respectively. However, xanthone at the highest concentration tested at 8.0% (v/v) inhibited the mycelial growth of C. gloeosporioidesby 72.6±0.00%. Combined use of 0.062% (v/v) citronellal and I. orientalis VCU24 and 0.062% (v/v) citronellal alone showed the antracnose disease reduction by 81.73±2.71% and 30.13±17.24% on mango cv. Nam Dok Mai, respectively. Whereas, the use of carbendazim showed the antracnose disease reduction at 92.10±1.38%. Viable cell numbers of I. orientalis VCU24 were examined in wounded mango. It was found that control group (yeast only) and treatment group, 0.062% (v/v) of citronellal combined with yeast (I. orientalis VCU24), showed that the cell numbers of yeast I. orientalis VCU24 in the wounds were not significantly different (p< 0.05), and yeast cell numbers were approximately 8.85±0.52 and 8.78±0.04 log10CFU/wound, respectively
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account