Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบความร่วมมือของกลุ่มบุคคลในโซ่อุปทาน ข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในภาวะที่เกิดภัยแล้งที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจของโซ่อุปทานข้าวประชากรประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิตข้าวเปลือกกลุ่มผู้จัดหาข้าวเปลือกกลุ่มผู้ผลิตข้าวสารและกลุ่มผู้จำหน่ายข้าวสารผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus group) ทุกกลุ่มในโซ่อุปทานข้าวโดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. แนวทางการดำเนินการเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจของโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ดในภาวะเกิดภัยแล้ง ได้แก่ (1) การบริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุนเป็นบ่อบาดาล 1 บ่อ/ 5ไร่ หรือขุดสระ 1 บ่อ/10 ไร่ โดยกลุ่มผู้ผลิตข้าวเปลือก (2) การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชาวนา ในฤดูการผลิตต่อไปหลังเกิดภัยโดยกลุ่มผู้จัดหาข้าวเปลือก (3) การทบทวนแผนการตลาด การหาตลาดจำหน่ายข้าวสารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยกลุ่มผู้ผลิตข้าวสารและกลุ่มผู้จำหน่ายข้าวสาร 2. แนวทางความร่วมมือภายในโซ่อุปทานข้าว ได้แก่ (1) การวางแผนการผลิต แผนการรับซื้อแผนการจำหน่ายให้สอดคล้องกัน (2) การบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน มีการกันเมล็ดพันธ์ข้าวไว้กู้ยืมหลังเกิดภัย (3) การแปรรูปข้าวเปลือกที่ไม่ได้คุณภาพหลังการเกิดภัยให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า 3. แนวทางความร่วมมือนอกโซ่อุปทานข้าว ได้แก่ (1) การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (2) การส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตและพัฒนาองค์ความรู้แก่ชาวนาให้สามารถรับมือกับภัยแล้งได้ (3) การควบคุมเมล็ดพันธุ์ข้าวและการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังเกิดภัย (4) การพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการเพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ