DSpace Repository

การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและการต้านอนุมูลอิสระในสาหร่ายน้ำจืดของจังหวัดน่าน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภาวดี ศรีแย้ม
dc.contributor.advisor ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์
dc.contributor.author อัจฉราภรณ์ ผลรินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:34:27Z
dc.date.available 2023-05-12T02:34:27Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6167
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดสาหร่ายน้ำจืด และปริมาณคลอโรฟิลล์ในสาหร่ายน้ำจืดสด 4 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายไกต๊ะ (Microspora sp.) สาหร่ายไกไหม (Cladophora sp.) สาหร่ายเตา (Spirogyra sp.) และสาหร่ายลอน (Nostochopsis sp.) ในจังหวัดน่าน โดยสกัดด้วยตัวทำละลายเอทานอลบริสุทธิ์ ด้วยวิธีการสกัดสาหร่ายน้ำจืด 2 วิธีคือ วิธีการสกัดแบบแช่ และวิธีการสกัดแบบใช้เครื่องเขย่าสาร ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu phenol test สารสกัดจากสาหร่ายเตามีปริมาณมากที่สุดด้วยวิธีการสกัดทั้ง 2 วิธี มีค่าเท่ากับ 179.18 ± 0.13 mgGAE/g extract ด้วยวิธีการสกัดแบบแช่ และ 204.29 ± 0.25 mgGAE/g extract ด้วยวิธีการสกัดแบบใช้เครื่องเขย่าสาร สำหรับการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH วิธี ABTS และวิธี FRAP พบว่า สารสกัดจากสาหร่ายเตามีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงสุดมีค่าเท่ากับ 323.71 ± 0.72, 574.19 ± 3.88 และ 386.72 ± 1.61 mgTE/g extract ตามลำดับ และจากการศึกษาปริมาณคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่ในสาหร่ายน้ำจืดแต่ละชนิดด้วยวิธี Spectrophotometric ด้วยตัวทำละลายอะซิโตนบริสุทธิ์ พบว่า สาหร่ายไกต๊ะมีปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และคลอโรฟิลล์บีสูงสุดมีค่าเท่ากับ 2.31 ± 0.17 และ 1.57 ± 0.13 mg/g extract ตามลำดับ ผลการวิจัยข้างต้น สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนให้ช่วยกันอนุรักษ์สาหร่ายในท้องถิ่น อีกทั้งตระหนักถึงคุณค่า และนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์อาหารได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา
dc.subject สาหร่าย
dc.subject สาหร่ายน้ำจืด
dc.title การวิเคราะห์ปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและการต้านอนุมูลอิสระในสาหร่ายน้ำจืดของจังหวัดน่าน
dc.title.alternative Determintion of totl phenolic nd ntioxidnt ctivity in fresh wter mcro lge from nn province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The aims of this research are evaluation of total phenolic contents, antioxidant activities from ethanolic extracts and chlorophyll contents from four types of fresh macro algae i.e. Khaitha (Microspora sp.), Khaimai (Cladophora sp.), Tao (Spirogyra sp.) and Lon (Nostochopsis sp.) in Nan province by extraction with ethanol. Maceration and orbital shaker extraction methods were compared. Total phenolic contents were determined by Folin–Ciocalteu phenol test. The highest amount of total phenolic compound was found in Tao extract, accounting for 179.18 ± 0.13 mg GAE/g extract from maceration extraction method and 204.29 ± 0.25 mg GAE/g extract from orbital shaker extraction method. The highest antioxidant capacity was also found in Tao extract. The antioxidant capacities analyzed by DPPH ABTS and FRAP assay were 323.71 ± 0.72, 574.19 ± 3.88 and 386.72 ± 1.61 mg TE/g extract, respectively. The chlorophyll of fresh water macro algae were determined by spectrophotometric method. All samples were extracted with absolute acetone. Khaitha showed the highest content of chlorophyll-a and chlorophyll-b as followed 2.31 ± 0.17 and 1.57 ± 0.13 mg/g. extract The results from this study gave benefit basic scientific data of fresh water macro algae and it can pass on the knowledge to people for conserving their local algae. Moreover, they can realize to the increase the value added of their food product
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เคมีศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account