Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้บริการ ห้องสมุดสาขาสิ่งแวดลอ้มของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเปรียบเทียบความต้องการใช้บริการห้องสมุด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์โดยจำแนกตามประเภทผู้ใช้บริการ และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการให้บริการสารสนเทศที่สนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของห้องสมุดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษาระดับบัณฑิต และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปี การศึกษา 2558 จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ ช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One –way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัย พบว่า ห้องสมุดส่วนใหญ่มี 1. การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำวิจัย 2. การให้บริการสารสนเทศเพื่อการทำวิจัย 3. การบริการอบรมให้ความรู้และการปรึกษาด้านการวิจัย 4. การบริการสถานที่และสิ่งอำนวยในห้องสมุดแก่นักวิจยัเพื่อสนับสนุนการทำวิจัย 5. การบริการสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานของนักวิจัยในภาพรวมผู้ใช้บริการห้องสมุด คณะสิ่งแวดลอ้มและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล มีความต้องการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในระดับมากทุกรายการ โดยมีความต้องการด้านการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการบริการสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานของนักวิจัย ด้านการบริการสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องสมุดแก่นักวิจัยเพื่อสนับสนุนการ ทำวิจัย ด้านการบริการอบรมให้ความรู้และการปรึกษาด้านการวิจัย และด้านการให้บริการสารสนเทศเพื่อการทำวิจัย ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบความต้องการใช้บริการสารสนเทศ พบว่า ผู้ใช้บริการประเภทต่างกัน มีความต้องการบริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในบางรายการ