Abstract:
การศึกษาผลของมุมสัมผัสหยดน้า บนกระจกสไลด์ที่ปรับสภาพพื้นผิวด้วยพลาสมาเจ็ท ระบบความดันบรรยากาศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขการปรับสภาพพื้นผิวด้วยพลาสมาเจ็ท ระบบความดันบรรยากาศที่มีผลต่อมุมสัมผัสของหยดน้า บนกระจกสไลด์ ลักษณะทางสัณฐาน วิทยาและองค์ประกอบทางเคมีของกระจกสไลด์หลังการปรับสภาพพื้นผิว ศึกษาโดยใช้เครื่อง กาเนิดคลื่นความถี่วิทยุ เป็ นตัวสร้างพลาสมาที่เงื่อนไขดังนี้ กระแสไฟฟ้ า 300 mA ความต่างศักย์ไฟฟ้ า 80 V ผลการศึกษาพบว่ามุมสัมผัสหยดน้า เฉลี่ยก่อนปรับสภาพมีค่าเท่ากับ 24.7° หลังจากปรับสภาพมุมสัมผัสหยดน้า มีค่าลดลงอย่างมาก เฉลี่ยเท่ากับ 1.4°-6.3° โดยอัตรา การไหลของแก๊สอาร์กอนที่เหมาะสมคือ 5 L/min ระยะห่างระหว่างหัวฉีดเจ็ทกับกระจกสไลด์ ที่เหมาะสมคือ 15 mm เมื่อนาเงื่อนไขที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ในการปรับสภาพพื้นผิวของ กระจกสไลด์แล้วเพิ่มแก๊สออกซิเจนเข้าไป พบว่า อัตราการไหลของแก๊สออกซิเจน 3 L/min ทา ให้ มุมสัมผัสหยดน้า มีค่าลดลง สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง FTIR ที่แสดงให้เห็นถึง การเพิ่มขึ้นของหมู่ฟังก์ชันออกซิเจน ซึ่งทา ให้พื้นผิวของกระจกสไลด์เกิดสภาพชอบน้า ยิ่งยวด