DSpace Repository

การวิเคราะห์โลหะหนักด้วยขั้วไฟฟ้าอนุภาคนาโนบิสมัทรูปร่างต่าง ๆ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศศิธร มั่นเจริญ
dc.contributor.author จุฑามาศ บุญตั้งแต่ง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T02:25:47Z
dc.date.available 2023-05-12T02:25:47Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6123
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยได้พัฒนาขั้วไฟฟ้าบิสมัทโดยเคลือบขั้วไฟฟ้ากลาสซี่คาร์บอนด้วยอนุภาคนาโน บิสมัทรูปทรงกลม และอนุภาคบิสมัทรูปทรงแท่ง เพื่อนำไปใช้เป็นขั้วไฟฟ้าในการวิเคราะห์โลหะหนัก ได้แก่ สังกะสี, แคดเมียม และตะกั่ว โดยใช้เทคนิคสแควร์เวฟแอโนดิกสตริปปิงโวลแทมเมทรี (Square – wave anodic stripping voltammetric technique) ในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนบิสมัทชนิดต่างๆ นี้ได้ ทําการศึกษาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อการสังเคราะห์อนุภาคนาโนรูปทรงกลม และอนุภาคบิสมัทรูปทรง แท่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังศึกษาคุณลักษณะ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ในสภาวะที่เหมาะสมสามารถสังเคราะห์อนุภาคนาโนรูปทรงกลม และอนุภาคบิสมัทรูปทรงแท่ง ที่มีขนาด 137.0 ±3.43 นาโนเมตร และ 5.18 ± 1.36 ไมโครเมตร ตามลําดับ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาแล้ว ไปวิเคราะห์โลหะหนัก ซึ่งจากผลการทดลองศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการวิเคราะห์คือ ค่าศักย์ไฟฟ้า และระยะเวลาในการเกาะติดสารที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ -1.4 โวลต์ และ 240 วินาที ตามลําดับ ที่ ความถี่ 25 เฮิร์ต แอมพลิจูด 25 มิลลิโวลต์ และสเตปโพเทนเชียล 4 มิลลิโวลต์ และสําหรับช่วงความ เป็นเส้นตรงของสังกะสี,แคดเมียม และตะกั่วมีค่าอยู่ในช่วง20 – 130 ไมโครกรัมต่อลิตร,10 – 60 ไมโครกรัมต่อลิตรและ 6 – 54 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลําดับ ค่าขีดจำกัดการตรวจวัด (LOD) คือ 3.2 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับสังกะสีและ 1.60 ไมโครกรัมต่อลิตร สำหรับแคดเมียม และตะกั่ว ตามลําดับ นอกจากนี้ได้นำขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นนี้ไปวิเคราะห์หาปริมาณโลหะดังกล่าวในตัวอย่างน้ำทะเล พบว่าให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โลหะหนัก -- การวิเคราะห์
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมี
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
dc.title การวิเคราะห์โลหะหนักด้วยขั้วไฟฟ้าอนุภาคนาโนบิสมัทรูปร่างต่าง ๆ
dc.title.alternative Electrochemicl nlysis of hevy metls by vrious shpes nno bismuth electrode
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Modification the bismuth nanoparticles (Spheres and Rods)onto glassy carbon electrode as a working electrode has been developed and applied for heavy metal analysis (Zinc, Cadmium and Lead) by square-wave anodic stripping voltammetric technique. The optimization of synthesis the nanobismut spheres and bismuth rods) was investigated. The morphology and structure of the nanoparticles were analyzed with a scanning electron microscope (SEM) . The under optimal conditions, the size of synthesize nanobismuth spheres and bismuth rods were 137.0 ± 3.43 nm และ 5.18 ± 1.36 nm, respectively. For the heavy metal analysis using the modify electrode, it was observed that the optimal conditions of deposition potential and deposition time were -1.4 V and 240 s and frequency 25 Hz, amplitude 25 mV and step potential 4 mV. The linearity of zinc, cadmium and lead were20 – 130 µg.L -1 , 10 – 60 µg.L -1 and 6 – 54 µg.L -1 , limit of detection were 3.20 µg.L -1 for zinc and 1.60 µg.L -1 for cadmium and lead, respectively. Moreover, the propose electrode was applied to determine the metals in sea water. It gave the satisfactorily results.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เคมี
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account