Abstract:
จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ เพื่อตรวจสอบค่าความส่องสว่างของแสงธรรมชาติที่ตกกระทบบนพื้นระนาบใช้งานภายในอาคารของอาคารสูงในเขตภาคตะวันออก โดยนำค่าความส่องสว่างเฉลี่ยของแสงธรรมชาติที่ได้จากการวัด มาเปรียบเทียบกับค่าความส่องสว่างมาตรฐาน (CIE No 29.2, 1986) การดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็น การศึกษา สำรวจ พร้อมทั้งกำหนเช่วงเวลาและจุดที่ทำการวัด ขั้นตอนที่สอง เป็นการวัดค่าความส่องสว่างของแสงธรรมชาติ
โดยใช้ลักซ์มิเตอร์ การวัดแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เป็นการวัดแสงธรรมชาติแบบ 1 ทิศต่อ 1 จุด การดำเนินการเริ่มจากแบ่งจุดของการวัดของแต่ละชั้นเป็น 8 ทิศ โดยมีระยะห่างจากจุดวัดถึงผนังของอาคาร 1 เมตร การวัดรูปแบบที่สองเป็นเป็นการวัดแสงธรรมชาติแบบ 1 ทิศ ต่อหลายจุด การดำเนินการเริ่มจากเลือกห้องที่อยู่มุมของอาคาร ต่อจากนั้นแบ่งจุดของการวัดของแต่ละห้องเป็น 8 ทิศ แต่ละทิศที่วัดแบ่งออกเป็นหลายจุด โดยมีระยะห่างของแต่ละจุดที่อยู่ระหว่างผนังของอาคารและกึ่งกลางห้องเท่ากับ 1 เมตร ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างค่าความส่องสว่างเฉลี่ยของแสงธรรมา
และค่ามาตรฐาน สรุปผลได้ว่า ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส ค่าความส่องสว่างเฉลี่ยของแสงธรรมชาติที่วัดได้จากทุกจุดของการวัดรูปแบบที่หนึ่ง มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน ส่วนรูปแบบที่สอง ค่าความส่องสว่างเฉลี่ยของแสงธรรมชาติที่วัดได้ของห้องที่มีพื้นที่ 54 ตารางเมตร มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน ส่วนห้องที่มีพื้นที่มากกว่า 54 ตารางเมตร มีเพียงบางจุดเท่านั้นที่มีค่าที่ได้จากการวัดสูงกว่าค่ามาตรฐาน