Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเสนอแนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเรียนการสอนตามกรอบการประกันคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเอกสาร ศึกษาโดย
การใช้เทคนิคสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 6 ภาควิชา ๆ ละ 3 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview) อาจารย์ จำนวน 10 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของนิสิต
ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา รองลงมาได้แก่
การจัดการเรียนการสอนทั่วไปและความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ตามลำดับ 2. ประสิทธิภาพการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ตามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ควรปรับปรุงมากที่สุด ได้แก่ วัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา รองลงมาได้แก่ บุคลิกภาพและความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิต ตามลำดับ 3. แนวทางการพัฒนาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการเรียนการสอนตามกรอบการประกันคุณภาพของทบวงมหาวิทยาลัย ได้แก่ 3.1.1 ควรมีการประเมิน พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร 3.1.2 ควรจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียน 3.1.3 ควรจัดหลักสูตรให้ผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้และมีความยืดหยุ่น 3.2 อาจารย์ 3.2.1 สัดส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสม 3.2.2 มีพัฒนาการความรู้ใหม่ ๆ ให้อาจารย์อย่างต่อเนื่อง3.2.3 มีการกำหนดเวลานัดหมายปรึกษาวิทยานิพนธ์อย่างชัดเจน 3.2.4
ควรมีการจ้างอาจารย์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ3.2.5 สนับสนุนให้ทุนเสนอผลงานวิจัยในต่างประเทศ 3.3 กระบวนการเรียนการสอน 3.3.1 มีแผนการสอนในรายวิชาที่สอน 3.3.2 มีการประเมินประสิทธิภาพการสอน 3.3.3 มีการปรับปรุงการสอนตามผลการประเมิน 3.3.4 มีการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3.3.5 มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์และนิสิตไปใช้ในโรงเรียนและชุมชน 3.3.6 มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 3.4 นิสิต 3.4.1 ควรมีการเผยแพร่ตีพิมพ์บทความวิจัยของนิสิต 3.4.2 ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมทางวิชาการให้นิสิต 3.4.3 ควรวิจัยติดตามนิสิตที่จบไปแล้วเพื่อนำมาปรับปรุงหลักสูตรต่อไป 3.5 การวัดและการประเมินผล 3.5.1 ควรมีการปรับปรุงเครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชา 3.5.2 การวัดควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างผู้เรียน 3.5.3 ควรมีการประเมินผลตามสภาพจริง 3.6 ปัจจัยเกื้อหนุน 3.6.1 ควรจัดสถานที่ที่สืบค้นข้อมูลสำหรับอาจารย์และนิสิตอย่างเพียงพอ 3.6.2 อุปกรณ์สื่อการสอนควรมีความทันสมัย 3.6.3 จัดเอกสารการค้นคว้าให้เพียงพอ 3.6.4 ควรมีฐานข้อมูลงานวิจัยของนิสิตและฐานข้อมูลประวัติและผลงานของอาจารย์แสดงบนระบบเครือข่ายให้นิสิตได้ศึกษาเรียนรู้