dc.contributor.author | วนิดา สกุลรัตน์ | |
dc.contributor.author | ธมนวรรณ อร่ามเรืองกุล | |
dc.contributor.author | อลิษา สุขปิติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:56Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:56Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/551 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการพ้นสภาพของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาย้อนหลัง 3 ปี ปีการศึกษา 2547-2549 และปีปัจจุบัน 2550 โดยจำแนกตามปีการศึกษาระบบการคัดเลือกเข้าศึกษา และหมวดรายวิชาที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 ศึกษาเชิงวิเคราะห์การพ้นสภาพของนิสิต จำแนกตามปีการศึกษา ระบบการคัดเลือกเข้าศึกษา สาเหตุของการพ้นสภาพและศึกษาความคิดเห็นต่อการปรับตัวของนิสิตชั้นปีที่ 1 ประชากรเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ของปีการศึกษา 2547-2550 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,449 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถามความคิดเห็น วัดการปรับตัวแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การเก็บข้อมูล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การพ้นสภาพนิสิต เก็บจากประชาชน แต่ความคิดเห็นต่อการปรับตัวใช้กลุ่มตัวอย่างนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 267 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาพรวมสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.56 ต่ำที่สุดคือ ปีการศึกษา 2550 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.38 เมื่อเปรียบเทียบตามประเภทการคัดเลือกเข้าศึกษา พบว่า ประเภทโควตา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาพรวมสูงที่สุด ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.61 เปรียบเทียบตามหมวดรายวิชาที่ศึกษาในชั้นปีที่ 1 พบว่า นิสิตชั้นปีที่ 1 ในภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.91 สูงกว่าหมวดวิชาเฉพาะ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 2.35 การวิเคราะห์การพ้นสภาพของนิสิต พบว่า นิสิตปีการศึกษา 2547 พ้นสภาพมากที่สุด จำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 23.57 และปีการศึกษา 2550 พ้นสภาพน้อยที่สุด จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 11.73 เมื่อเปรียบเทียบตามประเภทการคัดเลือกเข้าศึกษา พบว่า นิสิตประเภทโควต้า พ้นสภาพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.43 สำหรับสาเหตุการพ้นสภาพมากที่สุด คือ การลาออก คิดเป็นร้อยละ 44.49 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามวัดความคิดเห็นในการปรับตัว 11 ด้านของนิสิตชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 พบว่า ระดับปัญหาภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ประเด็นที่เห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุดคือ ปัญหาด้านกิจกรรมและนันทนาการ ประเด็นที่เห็นว่าเป็นปัญหาน้อยที่สุด คือ ปัญหาทางบ้านและครอบครัว ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้เป็นที่รู้จัก และประชาสัมพันธ์การรับสมัครนักเรียนในภูมิภาคให้มากขึ้น เพื่อให้นักเรียนที่มีพื้นฐานการเรียนดีสนใจเข้าศึกษา เพราะเป็นปัจจัยนำเข้าที่คุณภาพดี ส่งเสริมกิจกรรมรับน้องให้ไปในทางสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเชิงวิชาการที่ติวน้อง ที่ช่วยน้องเรียน เป็นที่ปรึกษา และจัดระบบทีมติวรุ่นพี่ที่มีความสามารถดูแลตลอดปีการศึกษาแรก จะทำให้น้องใหม่เกิดควมอบอุ่น มีความประทับใจเกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร สนับสนุนกิจกรรมสอนเสริมจัดงบประมาณและอาจารย์สอนเสริมปรับพื้นฐานวิชาเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ทันทีที่รายงานตัวเข้าศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เตรียมความพร้อมในเชิงวิชาการ และทำให้มีช่วงเวลาของการปรับตัว จัดอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กำหนดนโยบายการรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาต่อภาคปกติ โดยมีฐานข้อมูลจากงานวิจัย ให้ความสำคัญและดูแลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อการเรียน และเป็นที่กังวลใจมากเกินไป จัดระบบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อการดูแลนิสิตชั้นปีที่ 1 เป็นพิเศษกว่าปีอื่น ๆ ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ ควรทำการศึกษาวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอน ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ภาคพิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบและควรจัดระบบติดตามดูแลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 1 และวางแผนแก้ไขในกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ทันที | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ - - นักศึกษา | th_TH |
dc.title | การศึกษาเชิงวิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนการสอนของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2550 | th_TH |
dc.title.alternative | Analysis of academic management for the first-year students in bachelor degree, Faculty of Engineering, Burapha University (Academic year 2007) | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study is to analytically study the educational accomplishment and the retirement of the first-year students of the bachelor degree of engineering in the normal program of Faculty Engineering, Burapha University. This study covered the academic year of 2004 to 2007 with the classification by the academic years, the entrance systems, the subjects of general education, the causes of the retirement and the student opinions to the self adjustment. The study samples were the first-year students in the academic year of 2004 to 2007, totally 1,449 students. The methodology of this study was the collection of data and questionnaires to measure the five-leveled scaling adjustment. The data of the educational accomplishment and the retirement were collected from the samples, whereas the information of the student opinions to the self adjustment was collected from the 267 representative samples of the first-year students in the academic year of 2007. From the results, it is found that the first-year students in the academic year of 2005 had the most overall educational accomplishment with the average of 2056 and the first-year students in the academic year of 2007 had the least with the average of 2.38. In comparison with the entrance systems, it is seen that the students from the quota system had the most overall educational accomplishment with the mean of 2.61, meanwhile, comparing with the subjects of general education, the students had the accomplishment in the general-education subjects (with the average of 2.91) higher than that in the specific subjects (with the average of 2.35). The analysis of the student retirement shows that the number of the first-year student retirement in the academic year of 2004 was the highest (74 students or 23.57%) whereas that in the academic year of 2007 was the lowest (42 students or 11.73%). Moreover, comparing with the entrance systems the quota-system students retired the most (22.43%), meanwhile the most cause of the retirement was the resignation (44.49%). The reaults of the questionnaires of the student opinion to 11 aspects of the self adjustment express that the level of the overall problems was still low. The biggestproblem was the problem about activities and entertainments as well as the smallest problem was the problem was the problem about family. From this study, operational suggestions, politic suggestions and academic suggestions are proposed. For the operational suggestions, there should be increasingly the promotion of the faculty and the student recruitment in the local region so as to create students' interests in studying the field of engineering in the faculty. The faculty could then recruit the outstanding students more. The faculty should initiate and support creative activities for the first-year students, for example the tuition and the consulting programs by their seniors. The first-year students would feel genial and impressive in school surrounding. Furthermore, the faculty should provide budget and instructors to give the special courses for the introduction of fundamental engineering study immediately when the students enter the school as well as should keep these programs continuously every year. For the politic suggestions, the faculty should set up the policy of student recruitment based on research data and control the student activities to be in proper level, so that the students are able to pay attention on studying and do not worry about activities too much. The faculty should manage the advisory system effectively, particularly for the first-year students. In the academic suggestions, the analysis of the teaching condition for the first-year students of the bachelor degree of engineering in the special program of Faculty of Engineering, Burapha University is proposed. The faculty should study and compare the results from the normal program and the special program. Finally, the faculty should set up the monitoring system for the first-year students every semester end and plan to help the students who have unsatisfied grade. | en |