Abstract:
การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต หลักสูตรพุทธศักราช 2535 ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรในด้านต่อไปนี้1. วัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระของหลักสูตร2. ศักยภาพของคณาจารย์และศักยภาพเชิงวิชาการของนิสิต3. กระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตร4. คุณภาพบัณฑิตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ทรวงคุรวุฒิด้านหลักสูตร 30 คน คณาจารย์ผู้สอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต จำนวน 104 คน บัณฑิต 230 คน ผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต 105 คน นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 241 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 5 ชุด ชุดที่หนึ่ง แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านหลักสูตร ชุดที่สอง แบบสอบถามสำหรับคณาจารย์ผู้สอนหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต ชุดที่สาม แบบสอบถามบัณฑิต ชุดที่สี่ แบบสอบถามผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต ชุดที่ห้า แบบสอบถามบัณฑิตสรุปผลการวิจัย1. การประเมินด้านวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระของหลักสูตร ปรากฏว่าหลักสูตรพุทธศักราช 2535 มีโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาการศึกษาทั่วไป รายวิชาชีพครู รายวิชาเอก รายวิชาโท เหมาะสมระดับปานกลาง พัฒนาเป็นหลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2538 และ 2541 มีโครงสร้างหลักสูตร รายวิชาเรียน คำอธิบาย มีความเหมาะสมมากขึ้น2. การประเมินศักยภาพของคณาจารย์ด้านคุณวุฒิ ภาระงานของคณาจารย์ สัดส่วนวุฒิคณาจารย์ระดับปริญญาโทต่อวุฒิปริญญาเอก เท่ากับร้อยละ 82.69 ต่อร้อยละ 17.31 แสดงว่า สัดส่วนวุฒิของคณาจารย์มีความเหมาะสมระดับปานกลาง คณาจารย์ส่วนใหญ่มีผลงานวิชาการระดับน้อย ส่วนนิสิตที่เข้าศึกษาได้คะแนนสอบคัดเลือกอยุ่ในระดับปานกลาง แสดงว่าผู้เข้าเรียนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสามารถปานกลาง3. การประเมินกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตร คณาจารย์ส่วนใหญ่มีคุณลักษณะเป็นอาจารย์ที่ดี คือ มีการเตรียมการสอน มีเอกสารประกอบการสอน ใช้รูปแบบการสอนหลายรูปแบบ อบรมสั่งสอนคุณธรรมและศีลธรรมให้กับนิสิต ส่วนนิสิตมีคุณลักษณะเป็นผู้เรียนที่ดี คือเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและทำงานที่มอบหมายเสร็จทันเวลา มีความพร้อมในการเรียนการสอน4. การประเมินผลผลิต บัณฑิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตมีคุณภาพดี คือ มีความรู้เชิงวิชาการสูง เป็นผู้มีคุณธรรม สามารถปรับตัวและมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้บังคับบัญชา
และเพื่อนร่วมงาน