Abstract:
งานประพันธ์ของคะวะบะตะ ยะสึนะริ เป็นที่รู้จักดีว่า มีลักษณะเด่น ที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่น ตลอดชีวิตของคะวะบะตะมีช่วงเวลาวิกฤต ทั้งปัจเจกโศกนาฎกรรม และโศกนาฎกรรมของชนชาติญี่ปุ่น เมื่อครั้งพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกระทบต่อทั้งประชาชน สังคม และวัฒนธรรมในด้านกายภาพ และจิตใจ งานเขียนของคะวะบะตะภายหลังสงครามแสดงให้เห็นถึงการหวนกลับไปนิยมศิลปวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นโบราณ และแนวคิดแบบตะวันออก ซึ่งเชื่อมโยงชีวิตมนุษย์กับธรรมชาติ งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาวรรณกรรมของคะวะบะตะ ยะสึนะริ โดยเน้นเรื่องที่เป็นที่รู้จักจำนวน 11 เรื่อง และสังเคราะห์ประเด็นที่เป็นแนวคิดของชาวตะวันออกมานำเสนอโดยวิธีพรรณาวิเคราะห์ คาดว่าผลที่ได้จะก่อให้เกิดประโยชน์ คือทำให้ทราบทรรศนะของคะวะบะตะ ที่แสดงออกในนวนิยายของเขา เกี่ยวกับ ค่านิยม โลกทัศน์ และการดำรงชีวิตแบบตะวันออก เข้าใจโลกทัศน์ ชีวทัศน์ ค่านิยมของชาวญี่ปุ่นและชาวตะวันออกที่มีได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของชาวตะวันออกอันจะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม และเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจวรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ของคะวะบะตะ ยะสึนะริ"