dc.contributor.author | บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:54Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:54Z | |
dc.date.issued | 2534 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/523 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการพัฒนาคณาจารย์ และสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับงานพัฒนาคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ทำากรศึกษาข้อมูลจากคณาจารย์สังกัดคณะพลศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 97 คน โดยใช้แบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ช่วงเวลาเก็บข้อมูลคือระหว่างวันที่ 16 กรกฎาคม 2533 ถึงวันที่ 14 กันยายน 2533 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ทดสอบค่าทีและทดสอบค่าเอฟ ผลงานวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คณาจารย์มีปัญหาการพัฒนาคณาจารย์เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางทุกๆด้าน และเรียงลำดับปัญหาในแต่ละด้านจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ด้านการเขียนตำราและบทความทางววิชาการ ด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและด้านการสอน 2. คณาจารย์มีความต้องการพัฒนาคณาจารย์เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางในทุกๆด้าน และเรียงลำดับความต้องการในแต่ละด้านจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านการวิจัย ด้านการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ ด้ารการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ด้ารการสอน ด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 3. คณาจารย์ที่มีความแตกต่างในด้านสถานภาพสมรส คณะที่สังกัดและวุฒิการศึกษา มีปัญหาด้าการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้คณาจารย์ที่มีความแตกต่างในด้านวุฒิการศึกษา ยังมีปัญหาทางด้านการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. คณาจารย์ที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีความต้องการการพัฒนาด้านการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. คณาจารย์ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่ามหาวิยาลัยศรีนครินวิโรฒ บางแสน ควรจัดตั้งหน่วยงานพัฒนาคณาจารย์ขึ้น โดยอยู่ในความรับปิดชอบโดยตรงของผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และมีคณาจารย์จากคณะต่างๆร่วมเป็นกรรมการ กิจกรรมพัฒนาคณาจารย์ ควรจัดในลักษณะของการประชุม/สัมนาระยะสั้นๆในช่วงที่ปิดภาคเรียน และจัดภายในมหาวิทยาลัย สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคณาจารย์เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ไม่มีนโยบายที่แน่ชัดในการพัฒนาคณาจารย์ งบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาคณาจารย์ไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีความสามารถหรือเชี่ยวชาญในการดำเนินงานพัฒนาคณาจารย์และไม่มีหน่วยงานพัฒนาคณาจารย์ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ประจำปีงบประมาณ 2533 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การพัฒนาบุคลากร | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา - - การพัฒนาบุคลากร | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา - - อาจารย์ | th_TH |
dc.subject | วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน - - อาจารย์ | th_TH |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย | th_TH |
dc.title | ปัญหาและความต้องการพัฒนาคณาจารย์ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน | th_TH |
dc.title.alternative | Problems and needs for staff development of instructors Srinakharinwirot university Bangsaen | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2534 | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this survey research was to survey problems and needs for staff development, as well as the opinions in relation to the staff development of Srinakharinwirot University Bangsaen. The data were obtained from 97 instructors in Faculty of Physical Education, Faculty of Humanities, Faculty of Sciences, Faculty of Education, Faculty of Social Science and Faculty of Nursing. The research instruments were devised by the researcher. The data were collected during July 16,- September 14, 1990. The statistics used for the data analysis were Percentage, T-test and F-test. The research findings were as follows! 1. On average, all aspects of staff development problems were at the medium level and could be ranked from the most to the least as :- research, academic societies services, cultural conservation, textbooks and articles writing, academic society services, teaching, cultural conservation and academic adviser, respectively. 2. On average, all aspects of staff development needs were at the medium level and could be ranked from the most to the lease as :- research, textbooks and articles writing, academic society services, teaching, cultural conservation and academic adviser, respectively. 3. The instructors who were different from marital status, subjected faculty and educational qualification had a statistical significant difference in teaching problems. In addition to the instructors who were different from educational qualification had a statistical significant different in academic society service problems. The significance level, ∞, was set at .05. 4. The instructors who were different from marital status had a statistical significant difference in teaching needs of staff development at the level of .05. 5. Most of the instructors agreed that Srinakharinwirot University should set up a staff development unit which should be under responsibility of the Vice President for Academic Affairs. If should be also run by committee selected from the instructors of reach faculty. The staff development activities should be short-term seminars or workshops, organized during the University vacation and within the university area. In regard to the problems and the obstacles in staff development, it could be ranked from the most to the least as :- having no clear policies in staff development, inadequate budget for supporting the staff development activities, lack of personnel resources with the ability and expertise in managing the staff development and, finally, lack of staff development unit, respectively. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |