Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเป็นพิษของสารกำจัดวัชพืช 2, 4-D ไดเมทิลแอมโมเนียมในปลานิลและการตรวจสอบการแสดงออกของอะซิทิลโคลีนเอสเทอเรส (ตัวชี้วัดทางชีวภาพ) เพื่อบ่งชี้การรับสัมผัสในระดับความเข้มข้นที่ไม่ก่อให้เกิดการตายในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืช 2, 4-D ไดเมทิลแอมโมเนียมในสิ่งแวดล้อมทางน้ำต่อไป สำหรับความเป็นพิษของสารดังกล่าวที่เกิดขึ้นในปลานิลจะประเมินจากค่าอัตราการตายสะสมของปลานิล ซึ่งพบว่าจะเพิ่มมากขึ้นตามระดับความเข้มข้นและระยะเวลาที่ได้รับสัมผัส หลังจากที่
วิเคราะห์ค่าความเป็นพิษที่ก่อให้เกิดการตายแล้ว ในการศึกษาครั้งนี้นี้ได้ศึกษาความเป็นพิษของสารในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการตายในปลานิลด้วยคือระดับความเข้มข้น 5 µl/L ปลานิลที่ได้รับสัมผัสสารในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดการตายมีการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและสัณฐานวิทยาต่างจากกลุ่มควบคุมโดยขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ได้รับสัมผัส อะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสที่ตรวจสอบได้จากเนื้อเยื่อสมอง เหงือกและกล้ามเนื้อมีน้ำหนักโมเลกุลขนาด 71 กิโลดัลตัน (kDa) โดยการแสดงออกของอะซิทิลโคลีน
เอสเทอเรสในเนื้อเยื่อทุกชนิดจะลดลงเมื่อได้รับสัมผัสสารเป็นเวลานานขึ้น เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเหงือกพบว่า เกิดการเพิ่มจำนวนของเซลล์ (hyperplasia), การยกตัวชองเยื่อบุผิว (epithelial lifting), การรวมตัวกันบางส่วนของเนื้อเยื่อเหงือก (partial fusion of lamellae), การบวมและการเรียงตัวกันแบบผิดปกติของเนื้อเยื่อเหงือก (edema and lamellae disorganization) และการคั่งของเลือด (blood congestion) ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อพบว่าจะเกิดอาการ การขยายตัวของเส้นใย
กล้ามเนื้อ (dilation of muscle fiber), การแยกตัวของกล้ามเนื้อ (spiting of muscle) และการคั่งของเลือด (blood congestion) โดยการเปลี่ยนแปลงจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อปลานิลได้รับสัมผัสสารเป็นระยะเวลานาน จากข้อมูลทั้งหมดนี้จึงมีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ปลานิลตัวชี้วัด (bioindicator) การปนเปื้อนของสารกำจัดวัชพืช 2, 4-D ไดเมทิลแอมโมเนียมที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ และยิ่งไปกว่านั้นอะซิทิลโคลีนเอสเทอเรสสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพในการรับสัมผัสของสารได้