Abstract:
ทำการศึกษาสารอินทรีย์ทั้งหมดในดินตะกอน และฟลักซ์ของอนินทรีย์ไนโตรเจนละลายน้ำระหว่างน้ำ และดินตะกอนในอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในเดือนสิงหาคม 2557 ธันวาคม 2557 และเมษายน 2558 โดยเก็บตัวอย่างน้ำและดินตะกอนจาก 3 สถานี 1) พื้นที่ที่ไม่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก
2) พื้นที่ที่มีการ เลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก 1-2 ปี และ 3) พื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่มากกว่า 10 ปี พบว่าสารอินทรีย์ทั้งหมดมีค่าสูงสุดในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกมากกว่า 10 ปี (5.71±2.44 %) การเลี้ยง หอยแมลงภู่แบบแพเชือกที่ยาวนานเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ
การเปลี่ยนแปลงของลักษณะดินตะกอน และพบว่าฟลักซ์ของอนินทรีย์ไนโตรเจนละลายน้ำในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกที่ ยาวนานมากกว่า 10 ปี มีค่าสูงกว่าในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก 1-2 ปี และในพื้นที่ที่ไม่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือก โดยฟลักซ์ของไนไตรท์ ไนเตรท และแอมโมเนียระหว่างน้ำและดินตะกอนใน พื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบแพเชือกมากกว่า 10 ปี มีค่าเท่ากับ 7.97, 32.60 และ 39.92 μmol.m-2.h-1 ตามลำดับ ซึ่งฟลักซ์ของอนินทรีย์ไนโตรเจนละลายน้ำมีการเคลื่อนย้ายจากดินตะกอนสู่มวลน้ำ ชี้ให้เห็นว่าดินตะกอนในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่เป็นแหล่งปลดปล่อยอนินทรีย์ไนโตรเจนละลายน้ำ