Abstract:
งานวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาฟลักซ์ของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำและตะกอนแขวนลอยบริเวณปากแม่น้ำตราด จำนวน 6 ครั้งในปี พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบว่าฟลักซ์สุทธิของน้ำ, แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต และซิลิเกต ในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม
มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเล ต่างจากเดือนธันวาคมที่ฟลักซ์สุทธิของน้ำ, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต และซิลิเกต มีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำ ส่วนฟลักซ์สุทธิของตะกอนแขวนลอยพบว่ามีทิศทางการไหลจากทะเลเข้าสู่ปากแม่น้ำในเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน และธันวาคม มีทิศทางไหลจากแม่น้ำออกสู่ทะเลในเดือนมิถุนายน, สิงหาคม และตุลาคม ปริมาณสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำในน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ำท่า (ยกเว้นฟอสเฟตและตะกอนแขวนลอย) โดยมีค่าฟลักซ์สุทธิของน้ำ, แอมโมเนีย, ไนไตรท์, ไนเตรท, ฟอสเฟต, ซิลิเกต และตะกอนแขวนลอยเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 5.81 x 106 m3/day, 985.52 Kg N/day, 26.57 Kg N/day, 1,205.42 Kg N/day, 128.15 Kg P/day, 17,845.25 Kg Si/day และ 128.98 ton/day ตามลำดับ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับปริมาณฟลักซ์ของแม่น้ำตราดในปี พ.ศ. 2556 พบว่าปริมาณฟลักซ์ของสารอาหารส่วนใหญ่ที่ไหลออกสู่ทะเลมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะ แอมโมเนีย, ฟอสเฟส และซิลิเกตโดยเพิ่มขึ้นทั้งในช่วงฤดูน้ำน้อยและฤดูน้ำมาก แต่ฟลักซ์ของไนไตรท์และไนเตรทที่ไหลออกสู่ทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นเฉพาะช่วงฤดูน้ำน้อย จากการประเมินคุณภาพน้ำบริเวณแม่น้ำตราดพบว่าเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 คือ คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรกรรม