dc.contributor.author | สุรีย์ ทองวณิชนิยม | |
dc.contributor.author | อดิศร บูรณวงศ์ | |
dc.contributor.author | เมธี จันทโรปกรณ์ | |
dc.date.accessioned | 2022-07-31T01:40:39Z | |
dc.date.available | 2022-07-31T01:40:39Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4591 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) โครงสร้างระดับนาโนเคลือบบนแผ่นซิลิคอนและกระจกสไลด์ที่เป็นวัสดุรองรับด้วยเทคนิควิธีรีแอคทีฟดีซีแมกนีตรอนสปัตเตอริง เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความ สามารถในการยังยั้งแบคทีเรียของฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟสอนาเทสและเฟสรูไทล์ โดยนาฟิล์มที่เคลือบได้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้ โครงสร้างผลึกวิเคราะห์ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (XRD) โครงสร้างจุลภาคและความหนาวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิลด์อีมิสชัน (FE–SEM) และค่าการส่งผ่านแสงวิเคราะห์ด้วยเครื่องอัลตร้าไวโอเลต– วิสิเบิล สเปคโทรโฟโตมิเตอร์ (UV–Visible Spectrophotometer) ผลการศึกษาพบว่า เฟสของฟิล์มที่เคลือบได้แปรตามความดันรวมขณะเคลือบที่เพิ่มขึ้นจากเฟสรูไทล์เป็นเฟสอนาเทส โดยฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟสอนาเทส มีขนาดผลึก 43 nm ความหนา 150 nm และค่าการส่งผ่านแสงในช่วงที่ตามองเห็นประมาณ 75% พื้นผิวมีลักษณะก่อตัวเป็นเกรนแบบเรียวแหลมกระจายทั่วผิวหน้าของฟิล์ม และมีช่องว่างระหว่างเกรนซึ่งสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ส่วนฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟสรูไทล์ มีขนาดผลึก 20 nm ความหนา 143 nm และค่าการส่งผ่านแสงในช่วงที่ตามองเห็นประมาณ 65% พื้นผิวมีลักษณะก่อตัวเป็นเกรนแบบกลุ่มก้อนกลมมนกระจายตัวต่อเนื่องทั่วผิวหน้าของฟิล์ม และไม่มีช่องว่างระหว่างเกรน เมื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการยับยั้ง Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ด้วยกระบวนการ โฟโตคะตะไลติกโดยใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตชนิดเอ (UVA) พบว่า กระจกสไลด์ที่เคลือบฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟส อนาเทสและเฟสรูไทล์ มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียเพิ่มขึ้นตามเวลาในการฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตชนิดเอ และสามารถยับยั้ง Escherichia coli ได้ดีกว่า Staphylococcus aureus โดยฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟสอนาเทสสามารถยับยั้ง Escherichia coli และ Staphylococcus aureus ได้ดีกว่าเฟสรูไทล์ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การยับยั้งแบคทีเรีย | th_TH |
dc.subject | ฟิล์มบาง | th_TH |
dc.subject | ไทเทเนียมไดออกไซด์ | th_TH |
dc.title | การเปรียบเทียบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียของฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์เฟสอนาเทสและเฟสรูไทล์ | th_TH |
dc.title.alternative | Comparison of antibacterial ability of Anatase and Rutile TiO2 thin films | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 3 | th_TH |
dc.volume | 26 | th_TH |
dc.year | 2564 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research studied the nano–structured titanium dioxide (TiO2) thin films that had been coated on the silicon and glass slides by the reactive DC magnetron sputtering technique to compare the antibacterial ability of the TiO2 thin films between the anatase and rutile phases. After coating, the films were analyzed by various techniques. The crystal structures of coated samples were analyzed by the X–ray Diffraction (XRD), the microstructure surface and thickness were analyzed by the Field Emission Scanning Electron Microscope (FE–SEM), and the measurements of the optical transmission were analyzed by the UV–Visible Spectrophotometer. The results showed that the phases of the coated films varied with the total pressure while coating. The pressure increased from the rutile phase to the anatase phase. The crystal size of TiO2 thin films of the anatase phase was 43 nm, and the thickness was 150 nm. Also, the transmission in the visible range was approximately 75%. The surface had been formed and became tapered grains, and the grains spread over the surface of the film. There were deep grooves between grains. It could be observed from the FE–SEM. Meanwhile, the crystal size of TiO2 thin films of the rutile phase was 20 nm, and the thickness was 143 nm. The transmission in the visible range was approximately 65%. The surface had been formed in small and rounded grains. Then, they continuously spread across the surface of the film, and there were no deep grooves between grains. The comparasion of the antibacterial ability between Escherichia coli and Staphylococcus aureus with photocatalysis using the ultraviolet type A (UVA) found that the glass slides coated with the TiO2 thin films of the anatase and rutile phases had increased the antibacterial ability with time of the UVA irradiation. Moreover, TiO2 thin films of the anatase phase were more effective in disinfection than those of the rutile phase, and the TiO2 thin films of anatase phase was able to inhibit Escherichia coli better than Staphylococcus aureus. | th_TH |
dc.journal | วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา = Burapha Science Journal | th_TH |
dc.page | 1390-1408. | th_TH |