DSpace Repository

การพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้สำหรับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบในหลักสูตรสองภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา

Show simple item record

dc.contributor.author ปภัทรนันท์ คุณพูนทรัพย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-27T08:47:08Z
dc.date.available 2022-06-27T08:47:08Z
dc.date.issued 2565
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4493
dc.description ทุนสนับสนุนจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องการพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้สำหรับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบ ในหลักสูตรสองภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เนื้อหาของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลองก่อนเรียนและหลังเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองหลังจากเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา ประชากรคือนิสิตชั้นปี 1 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ 1) นิสิตรหัส 63 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน และ 2) นิสิตรหัส 64 ที่ลงทะเบียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คน กลุ่มควบคุมคือนิสิตรหัส 62 จำนวน 24 คน ที่ลงทะเบียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก และวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบผลิตภัณฑ์ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 1 คือข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ข้อสอบวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก ส่วนเครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 2 ได้แก่ แบบวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษในด้านความแม่นยำที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง และ Rubric สำหรับวิเคราะห์ภาษาที่ดัดแปลงจาก Language Rubric โดย Cambridge Language Assessment และเครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 คือระบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยบูรพา ผลการศึกษาพบว่า ผู้เรียนในชั้นเรียนที่ออกแบบตามแนวทางแบบ CLIL มีความพึงพอใจในระดับ มาก ส่วนระดับทักษะภาษาอังกฤษของผู้เรียนในชั้นเรียนที่ออกแบบตามแนวทางแบบ CLIL นั้นเพิ่มขึ้นแต่ ไม่ได้มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากส่นที่เพิ่มขึ้นคือระดับความคล่อง (Fluency) ไม่ใช่ความแม่นยำ (Accuracy) อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผลการเรียนรู้เนื้อหาจะใกล้เคียงกันระหว่างกลุ่มที่เรียนแนวทาง CLIL และกลุ่มที่เรียนด้วยภาษาแม่ ดังนั้นแนวทางแบบ CLIL น่าจะเป็นแนวทางที่สามารถใช้กับผู้เรียนวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบได้ แต่หากคาดหวังให้ผู้เรียนในหลักสูตรสองภาษามีระดับทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นเรียนแบบใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง (EMI) ในวิชาอื่นที่ระดับสูงขึ้นไปนั้น ก็ควรจัดให้มีคอร์สเสริมทักษะภาษาแบบเข้มข้นในระยะสั้นที่สอนโดยผู้ชำนาญด้านการสอนภาษา ดังข้อเสนอของ Galloway (2017) แต่หากงบประมาณไม่เพียงพอ อย่างน้อยก็ควรจะต้องเตรียมการอบรมให้ผู้ที่สอนเนื้อหาสามารถสอนภาษาได้ หรืออาจต้องให้เวลาสำหรับไปศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นโดยทางคณะควรนับเปwนภาระงานด้วย ดังที่ Kewara (2017) กล่าวว่าการพัฒนาผู้สอนต้องใช้เวลาและงบประมาณ th_TH
dc.description.sponsorship คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject หลักสูตร th_TH
dc.subject การจัดการเรียนรู้ th_TH
dc.title การพัฒนาแนวทางจัดการเรียนรู้สำหรับวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการออกแบบในหลักสูตรสองภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้แนวทางแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษา th_TH
dc.title.alternative The Application of CLIL Approach for History of Arts and Design Courses in Bi-lingual Program of Burapha University en
dc.type Research th_TH
dc.author.email papattaranan.k@gmail.com th_TH
dc.year 2565 th_TH
dc.description.abstractalternative This is the study of the results from applying CLIL approach for History of Arts and Design Courses in one of the bi-lingual programs of Burapha University. Objectives of study are 1) to compare the content learning achievement between the control groups and the experimental group, 2) to compare the level of English language proficiency among the control groups before and after studying with CLIL approach, and 3) to study the level of the experimental groups’ satisfaction after with CLIL approach. Population in this study included the first-year students from the Faculty of Fine and Applied Arts, Burapha University. There were two control groups; 1) 21 students who registered in the History of Product Design course during academic year 2563, and 2) 28 students who registered in the History of Western Art course during academic year 2564. The control group included 24 students who registered in the History of Western Art and the History of Product Design course during academic year 2562. Data for the 1st objective was collected from the content examinations in the History of Product Design course and the History of Western Art course. While data for the 2nd objective was collected by a language accuracy test developed by the researcher and the fluency analysis using a language rubric adapted from Cambridge Language Assessment. Data for the 3rd objective was collected by Burapha University’s online satisfaction assessment system. The results revealed that learners in the CLIL classes were highly satisfied. However, the language competency level of the CLIL learners in this study did not improve significantly, as the increased part is the fluency rather than the accuracy. Meanwhile it cannot yet be confirmed if the learning achievement of CLIL learners will be different from learners in the mother-language class. Therefore, the CLIL approach might be usable with students in History of Arts and Design. However, if the significant level of language competency is required before entering the EMI (English as Medium of Instruction) classes in the higher level, there should be the provision of intensive course, which is taught by specialist in language teaching, for the learners as suggested by Galloway (2017). But if the budget is limited, at least the content lecturer who is required to teach language should be trained in language teaching, or at least provided with time for extra study which should be counted as workload as Kewara (2017) stated that professional development takes time and budget. en
dc.keyword สาขาการศึกษา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account