DSpace Repository

การประยุกต์ใช้การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอลและการปรับสภาพบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาหอยแมลงภู่ต้ม : การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอล

Show simple item record

dc.contributor.author สวามินี ธีระวุฒิ
dc.contributor.author ปฏิยุทธ์ ขวัญอ่อน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ th
dc.date.accessioned 2022-06-21T07:32:43Z
dc.date.available 2022-06-21T07:32:43Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4469
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 th_TH
dc.description.abstract ระดับการยอมรับเนื้อหอยแมลงภู่สุกที่ผ่านการเคลือบสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล มี 4 ลักษณะ คือ ลักษณะปรากฏ กลิ่น รสชาติและเนื้อสัมผัส โดยกำหนดให้ระดับการยอมรับกลิ่นที่คะแนนน้อยกว่า 3 เป็นระดับการยอมรับที่ใช้ตัดสินอายุการเก็บรักษาเนื้อหอยแมลงภู่สุกเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอลและการน้าเนื้อหอยแมลงภู่สุกมาเคลือบด้วยสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล แตกต่างกัน 2 แบบ ได้แก่ TTM01 (สารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล 0.1% ในสารละลายอัลจิเนต 0.002%) และ TTM05 (สารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล 0.5% ในสารละลายอัลจิเนต 0.002%) เปรียบเทียบกับเนื้อหอยแมลงภู่ที่ไม่เคลือบ (TCC) และเคลือบสารละลายอัลจิเนต 0.002% (TAC) เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ± 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 18 วัน พบว่า เนื้อหอยแมลงภู่สุกเคลือบสารละลายน้ำมันหอมระเหยไทมอล TTM05 ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี (TVB-N และ TMA-N) คุณภาพคุณภาพทางจุลินทรีย์ (จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด) และคุณภาพทางประสาทสัมผัส (ลักษณะปรากฏ กลิ่น เนื้อสัมผัส และรสชาติ) ได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ TTM01, TAC และ TCC ตามล้าดับ นอกจากนี้เนื้อหอยแมลงภู่สุกในทุกชุดการทดลองยังตรวจไม่พบการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งโคลิฟอร์มแบคทีเรียและ E. coli ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา 18 วัน เมื่อพิจารณาอายุการเก็บรักษาจากคุณภาพทางประสาทสัมผัสที่เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการผลิตอาหารและการยอมรับด้านประสาทสัมผัสถึงจุดสิ้นสุด (คะแนนการยอมรับด้านกลิ่นต่ำกว่า 3 คะแนน) ร่วมกับจ้านวนจุลินทรีย์ทั้งหมด (อาหารทะเลปรุงสุกมีจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดไม่เกิน 6.0 log CFU/กรัม) ท้าให้ผู้ทดสอบยังคงมีความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์ โดย TTM05 และ TTM01 เก็บรักษาได้ 14 และ 10 วัน ตามล้าดับ ขณะที่ TAC เก็บรักษาได้ 6 วัน ส่วน TCC เก็บรักษาได้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุดคือ 4 วัน th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject น้ำมันหอมระเหย - - การใช้ประโยชน์ th_TH
dc.subject หอยแมลงภู่ - - การเก็บและรักษา th_TH
dc.title การประยุกต์ใช้การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอลและการปรับสภาพบรรยากาศในบรรจุภัณฑ์เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาหอยแมลงภู่ต้ม : การเคลือบน้ำมันหอมระเหยไทมอล th_TH
dc.title.alternative Application of thymol essential oil alginate-based coating and modified atmosphere packaging to prolong shelf-life of cooked green musse : thymol essential oil alginate-based coating en
dc.type Research th_TH
dc.author.email sawamin@buu.ac.th th_TH
dc.year 2561 th_TH
dc.description.abstractalternative A trained descriptive analysis panels were evaluated sensory attributes for cooked green mussel (Perna viridis) coated with a thymol essential oil alginate based coating. There was 4 attributes as appearance, odor, flavor and texture for sensory acceptance. While odor attributes could use to be shelf life of cooked green mussel coated with a thymol essential oil alginate based coating. The effect of thymol essential oil alginate-based coating on the quality changes of cooked green mussel during refrigerated storage of 18 days was investigated. The coated samples with alginate–based coating incorporated with 0.1% thymol essential oil (TTM01) and 0.5% thymol essential oil (TTM05) (v/v) compared to coated samples with alginate–based coating (TAC) and uncoated (TCC) during refrigerated storage of 18 days was investigated. TTM05 was the most effectively retarded chemical (TVB-N and TMA-N), microbiological quality (total plate count) and sensorial (appearance, odor, texture and tasty) qualities loss of cooked green mussel followed by TTM01, TAC and TCC, respectively. In addition, cooked green mussel coated with thymol essential oil alginate-based coating at all sample secure for growth of pathogenic microorganisms (Coliform bacteria and E. coli) as well. Considering the shelf life of product by the sensorial quality, that is important to consider for human food and adoption on the sensorial qualities loss (odor scores were less than 3 points) and the microbiology quality loss (total plate count was not exceeded 6 log CFU/g) so the shelf life of TTM05 and TTM01 were 14, and 10 days respectively. The TAC was shelf life by 6 days, while the shelf life of TCC was only 4 days. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account