dc.contributor.author |
ณัฐา ค้ำชู |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-23T04:31:53Z |
|
dc.date.available |
2022-05-23T04:31:53Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4380 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัยเงินรายได้ส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ 2562 |
th_TH |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสารโดยใช้ต้นฉบับตัวเขียนเทวันคำกาพย์ ซึ่งบันทึกไว้ในสมุดไทย ปัจจุบันต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเทวันธชาดก ในด้านองค์ประกอบของเรื่องและกลวิธีการดัดแปลงเนื้อเรื่อง
ผลการวิจัยพบว่า เทวันธชาดกเป็นชาดกเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกที่สันนิษฐานว่าแต่งเพิ่มเติมในสมัยหลังเพราะเป็นชาดกที่มีโครงเรื่องซับซ้อน ไม่มุ่งให้ความสำคัญในการบำเพ็ญบารมีหรือคุณสมบัติที่ประเสริฐของพระโพธิสัตว์ อีกทั้งยังมีอนุภาคและเหตุการณ์บางตอนคล้ายกับเหตุการณ์ในนิทานเก่าแก่ที่มีมาก่อน ในอดีตเทวันธชาดกคงเป็นนิทานที่ได้รับความนิยมมากจึงมีการนำมาดัดแปลงเป็นกลอนบทละคร กลอนอ่าน และสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของเทวันคำกาพย์ซึ่งเป็นนิทานสำหรับใช้สวดอ่านเป็นท่วงทำนองในที่ประชุมชนหรือในครัวเรือนตามความนิยมของคนไทยมาไม่น้อยกว่าปีพุทธศักราช ๒๔๒๙ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
การศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบของเรื่องพบว่านิทานทั้งสองเรื่องมีรูปแบบการนำเสนออย่างเดียวกัน ประกอบด้วยส่วนต้นเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนลงท้ายเรื่อง แต่มีธรรมเนียมนิยมในการประพันธ์แตกต่างกันตามประเภทวรรณกรรมและวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ที่ต่างกัน นิทานทั้งสองเรื่องมีโครงเรื่องและสารัตถะของเรื่องอย่างเดียวกัน มีตัวละคร บทสนทนา ฉากหรือบรรยากาศ และหลักธรรมคำสอนที่เหมือนและแตกต่างกันบางประการ
ส่วนการศึกษาด้านวิธีการดัดแปลงเทวันธชาดกเป็นเทวันคำกาพย์พบว่ากวีมีภูมิรู้และมีความสามารถด้านการดัดแปลงวรรณกรรมด้วยการเปลี่ยนรายละเอียด เพิ่มรายละเอียด ตัดรายละเอียด สลับที่เหตุการณ์ ผนวกเรื่อง และการอ้างถึง มาประสมประสานทำให้เทวันคำกาพย์มีอนุภาคตัวละคร อนุภาคเหตุการณ์ และหลักธรรมคำสอนที่ชาวบ้านชาววัดผู้อ่านและฟังนิทานในยุคสมัยนั้นคุ้นเคย อีกทั้งยังทำให้เทวันคำกาพย์มีลักษณะอย่างนิทานพื้นบ้านประเภทนิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่เน้นความสนุกสนานตลกขบขันแตกต่างจากเทวันธชาดกนิทานต้นเรื่องซึ่งเป็นนิทานศาสนา
เทวันธชาดกและเทวันคำกาพย์จึงเป็นนิทานของไทยอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ สะท้อนให้เห็นความสามารถรอบรู้ของกวีไทย ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักและเป็นเอกลักษณ์ของวงวรรณกรรมไทย |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
นิทานคำกาพย์ |
th_TH |
dc.subject |
วรรณกรรมไทย |
th_TH |
dc.subject |
ทวันธชาดก |
th_TH |
dc.subject |
เทวันคำกาพย์ |
th_TH |
dc.title |
จากเทวันธชาดกสู่เทวันคำกาพย์ : การดัดแปลงชาดกเป็นนิทานคำกาพย์ |
th_TH |
dc.title.alternative |
From Devandha Jataka to Thewan Kham Kap : An Adaptation of Jataka Tale to Kap Folktale |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
nkhamchoo@hotmail.com |
th_TH |
dc.year |
2564 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This study is an analysis of by comparing it with Devandha Jataka in the elements of components and transcription. The Thewan Kham Kap poem was inscribed in a Samud Thai, a Thai manuscript, which is at the present kept at National Library of Thailand.
The findings shows that the story of Devandha Jataka is included in Pannasa Jakata presumably composed later than other stories because the storyline is complicated and not focusing on meritorious acts or virtuous attributes of Bodhisattva. In addition, some motifs and situations in the story replicate the antecedent tales. Devandha Jataka might be so popular that it was adapted to be a dramatic poem and a reading poem. Presumably, the Devandha Jataka is the origin of Thewan Kham Kap poem which was incipiently used for chanting in public or in household as a customary practice of Thai families around 1886 in the reign of King Rama V of Thailand.
Both Devandha Jataka and Thewan Kham Kap poem mostly share similar beginning, story body, and ending, but their composition style and objective are different. Their storylines and details are the almost the same.
The examination of the adaptation of Devandha Jataka to Thewan Kham Kap poem reflects the intelligence and skill of the poet in changing details, making use of expansion, omission, transposition, adding another story, and allusion. These poetic skills make characters, events, and moral teaching in the Thewan Kham Kap poem familiar to the audience of those days, and these altogether make Thewan Kham Kap poem share similar characteristics of monarchical folktales with entertainment purpose rather than religious focus as in Devandha Jataka.
Devandha Jataka and Thewan Kham Kap poem both reflect identity of Thai literature and intelligence of the poets. Because of their valuable characteristics, they should be conserved, inherited, and publicized to people of the later generations. |
en |
dc.keyword |
สาขาปรัชญา |
th_TH |