DSpace Repository

การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author ดำรัส อ่อนเฉวียง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-22T09:23:09Z
dc.date.available 2022-05-22T09:23:09Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4364
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ และนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด 2)ศึกษาความต้องการการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 53 ท่าน โดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล 2) อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 302 ท่าน ซึ่งได้มาโดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล 3) นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 395 คน โดยความสมัครใจของผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) ร่างรูปแบบ (Model) การจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับ มหาวิทยาลัยบูรพา 2) แบบประเมินร่างรูปแบบ (Model) การจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับ มหาวิทยาลัยบูรพา 3) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยสำหรับผู้บริหารและคณาจารย์ และ 4) แบบสอบถามเพื่อการวิจัยสำหรับนิสิต ผลการวิจัย พบว่า 1. ความคิดเห็นของอาจารย์ และนิสิตที่มีต่อการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด มีดังต่อไปนี้ 1) ควรมีหน่วยงานสนับสนุนการทำสื่อ MOOC 2) การพัฒนาระบบตอบสนองการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) มีข้อกำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลที่ชัดเจน 4) การพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะผู้เรียนสามารถ เรียนซ้ำได้ 5) การใช้รายวิชาในระบบ MOOC ในการจัดการเรียนการสอน 6) ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 2. ความต้องการการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา พบว่า มีความต้องการที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1) มีหน่วยงานสนับสนุนการผลิตรายวิชา MOOC 2) การสนับสนุนเรื่องการเข้าถึงบทเรียน 3) การพัฒนาระบบให้ครอบคลุม 4) การกำหนดรายวิชาที่สอดคล้องกับชีวิตและอาชีพ 5) กระบวนการพัฒนารายวิชาที่มีประสิทธิภาพ 3. การกำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก คือ 1 ด้านการบริหารจัดการ 2 ด้านการวิเคราะห์ 3 ด้านการออกแบบการเรียนการสอน 4 ด้านการพัฒนา 5 ด้านการนำไปใช้ และ 6 ด้านการประเมิน th_TH
dc.description.sponsorship คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด th_TH
dc.subject รูปแบบการจัดการศึกษา th_TH
dc.title การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative A Study of Massive Open Online Course Model For Burapha University Project en
dc.type Research th_TH
dc.author.email damras@buu.ac.th th_TH
dc.year 2562 th_TH
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) study opinions of teachers. And students comments on a Massive Open Online Course 2) To study the need for Massive Open Online Course for Burapha University and 3) to set up a Massive Open Online Course model for Burapha University. The sample groups used in this research were 1) 53 administrators of Burapha University voluntarily provided by informants 2) 302 lecturers from Burapha University, which were obtained voluntarily by informants. 3) Students. Bachelor degree Burapha University Obtained at a simple randomization of 395 subjects on a voluntary basis. Research Tools 1) Open Online Education Management Model for Burapha University 2) Evaluation Form for Open Online Education Management Model for Burapha University 3) Research Questionnaire For administrators and faculty members and 4) research questionnaires for students. The research results found that: 1) Teacher Opinion And students comments on a Massive Open Online Course The followings are as follows: 1) There should be a media support agency for MOOC. 2) Development of a lifelong learning response system. 3) Have clear criteria for measurement and evaluation. 4) Developing quality media. Especially the students can repeat the course. 5) Using the subjects in the MOOC system in teaching and learning management. 6) Learners learn from real practice. 2) The need for a Massive Open Online Course for Burapha University It was found that the important needs were as follows: 1) There is a department to support the production of courses, MOOC, 2) support for access to lessons, 3) development of a comprehensive system, 4) assigning courses that are relevant to life and occupation, 5) process. Develop effective courses 3) Establishing to set up a Massive Open Online Course model for Burapha University consists of 6 key components: 1 management, 2 analytics, 3 instructional design, 4 development, 5 implementation and 6 evaluation. en
dc.keyword สาขาการศึกษา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account