DSpace Repository

ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและสารกระตุ้นที่มีต่อปริมาณสาร 4 methoxycinnamyl p-courmarate ในสารสกัดจากแคลลัสเร่วหอมที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง

Show simple item record

dc.contributor.author ศิรศาธิญากร บรรหาร
dc.contributor.author กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-05-20T11:02:23Z
dc.date.available 2022-05-20T11:02:23Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4351
dc.description งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 th_TH
dc.description.abstract เร่วหอม เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา จัดเป็นพืชที่สามารถนำมาศึกษาและพัฒนาศักยภาพในด้านการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพด้านพืชเพิ่มมากขึ้นเพื่อผลิตสารทุติยภูมิจากพืชสมุนไพร งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซินคือ 2, 4-D และสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินคือ BA และ TDZ รวมถึงสารกระตุ้นในระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันที่มีต่อการชักนำให้เกิดยอดและการเพิ่มปริมาณสารทุติยภูมิในส่วนยอดอ่อนของเร่วหอม โดยนาชิ้นส่วนหน่ออ่อนที่มีตาข้างของเร่วหอมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มาเพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร MS ที่เติม 2, 4-D 0.1, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร BA 0.5, 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร และ TDZ 0.5, 1 และ 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร จากการทดลองพบว่า การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนหน่อของเร่วหอมบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร หน่ออ่อนมีการเจริญเป็นยอดที่สมบูรณ์แข็งแรงดี และมีแคลลัสเกิดขึ้นบริเวณโคนหน่อด้านล่าง และจากการศึกษาหาชนิดของสารกระตุ้นที่เหมาะสมในการเพิ่มปริมาณยอดและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด โดยนำชิ้นส่วนหน่ออ่อนของเร่วหอม ไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับการเติมสารกระตุ้นชนิดต่าง ๆ คือ เมทิลจัสโมเนต (MeJA) 100 และ 200 ไมโครโมลาร์ กรดซาลิไซลิก (SA) 0.2, 0.4, 0.6, 0.8 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และไคโตซาน (Chitosan) 20, 60 และ 80 มิลลิกรัมต่อลิตร เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ในทุกสูตรอาหารที่นำมาเพาะเลี้ยง หน่ออ่อนเจริญดี แต่ไม่สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่ได้ และเมื่อนำยอดอ่อนที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด พบว่า ยอดอ่อนที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม MeJA 200 M มีปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในยอดอ่อนมากที่สุดเท่ากับ 3.058±0.048 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคตอกรัมสารสกัด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากชุดการทดลองอื่น ๆ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject เร่วหอม th_TH
dc.subject พืชสมุนไพร th_TH
dc.title ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและสารกระตุ้นที่มีต่อปริมาณสาร 4 methoxycinnamyl p-courmarate ในสารสกัดจากแคลลัสเร่วหอมที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง th_TH
dc.title.alternative Effect of Plant Growth Regulators and Elicitors on 4 methoxycinnamyl p-courmarate Content of Extracts from Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm. Callus Cultured in vitro en
dc.type Research th_TH
dc.author.email siripan@buu.ac.th th_TH
dc.author.email kobb01@hotmail.com th_TH
dc.year 2564 th_TH
dc.description.abstractalternative Etlingera pavieana (Pierre ex Gagnep.) R.M.Sm was a medicinal plant with medicinal properties and could be studied and developed potential in the field of medicine, food industry and cosmetic industry. More and more studies on medicinal plant tissue culture and plant biotechnology were conducted to produce secondary metabolites from medicinal plants. The objective of this research was to study the effects of growth regulators in the auxin group i.e 2, 4-D and the cytokinin group i.e. BA and TDZ as well as the elicitors at various concentration on shoot induction and total phenolic contents in young shoots of E. pavieana. The experiment launched by culturing 1 cm young rhizome on solid MS media supplemented with 2, 4-D 0.1, 0.5 and 1.0 mg/l, BA 0.5, 1.0 mg/l and TDZ. 0.5, 1 and 1.5 mg/l. From the experiment it was found that young rhizome that cultured on MS media supplemented with 0.5 mg/l TDZ grew well and developed into healthy new shoots and formed callus at the base of the rhizome. From the study of the suitable elicitors on shoot multiplication and total phenolic compound content, the young shoot was cultured on MS media added 0.5 mg/l TDZ together with the elicitors i.e. Methyl jasmonate (MeJA) 100 and 200 μM, Salicylic acid (SA) 0.2, 0.4, 0.6, 0.8 and 1 mg/l and Chitosan 20, 60 and 80 mg/l for 8 weeks. From this results, it was found that all experiment young shoots grew well. Unfortunately, young shoot was unable to multiplicate new shoot more. From the quantification of the total phenolic compounds, it revealed that the young shoots cultured on the MS media containing MeJA 200 μM had the highest flavonoids content at 3.058 ± 0.048 mg equivalent of gallic acid per gram and there was a statistically significant difference from other experiments. en
dc.keyword สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account