dc.contributor.author | สุปราณี แก้วภิรมย์ | |
dc.contributor.author | ศิริเดช บุญแสง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-05-12T01:13:14Z | |
dc.date.available | 2022-05-12T01:13:14Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4335 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้รายงานผลของปริมาณน้ำยางพาราต่อสัณฐานวิทยา สมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพ สมบัติเชิงกล และพฤติกรรมการย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์โฟมจากแป้งมันสำปะหลังที่ขึ้นรูปโดยวิธีเทอร์มัลรีฟอร์มมิ่ง โดยใช้เครื่องขึ้นรูปแบบอัด สภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปโฟมแป้งที่คือ อุณหภูมิแม่พิมพ์ 220 ºC ความดัน 1000 atm และเวลา 4.30 นาที ผลิตภัณฑ์โฟมที่ได้มีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 3.19 x 10 3 4.27 x 10 3 g/cm3 และมีความหนาอยู่ระหว่าง 3.25 3.45 mm โดยโฟมที่มีปริมาณน้ำยางพารามากกว่าจะมีความหนาแน่นสูงกว่า และความหนาน้อยกว่าโฟมที่ใส่ยางพาราน้อยกว่า การศึกษาสัณฐานวิทยาพบว่าสำลีเป็นสารเสริมแรงที่มีการกระจายตัวในเนื้อโฟมอย่างสม่ำเสมอ และโฟมมีรูพรุนขนาดเล็กที่ขอบและรูพรุนขนาดใหญ่ภายใน การเติมน้ำยางพาราทำให้สัดส่วนของรูพรุนขนาดเล็กมีน้อยลง แต่รูพรุนขนาดใหญ่มีสัดส่วนมากขึ้น และขนาดรูพรุนเล็กลงและมีผนังหนาขึ้นเมื่อเติมน้ำยางพาราในปริมาณที่เพิ่มขึ้น โดยสารเติมแต่งที่เติมในสูตรไม่ทำปฎิริยาเคมีต่อกัน การเพิ่มปริมาณน้ำยางพาราทำให้การบวมน้ำและการดูดซับความชื้นของโฟมลดน้อยลง จึงนับว่าน้ำยางพารามีผลช่วยให้โฟมคงรูปร่างได้ดีขึ้น การเติมสำลีมีผลให้ค่าโมดูลัสแรงดัดของโฟมเพิ่มขึ้น และการเติมน้ำยางพาราปริมาณเล็กน้อยทำให้ค่าโมดูลัสแรงดัดจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อเติมน้ำยางพาราในปริมาณมากขึ้น (มากกว่า 2.5 mL) ค่ามอดูลัสแรงดัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณของน้ำยางพาราที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเชื่อมขวางของโมเลกุลเป็นร่างแหโดยปฏิกิริยาวัลคาไนเซชั่นของน้ำยางพาราเกิดมากขึ้นเมื่อปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้นขึ้น เช่นเดียวกับความเครียด ณ จุดขาด ของโฟมที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อมีการเติมน้ำยางพาราเล็กน้อย แต่กลับพบว่ามีค่าลดลงอย่างมากเมื่อเพิ่มปริมาณน้ำยางพารามากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ายางธรรมชาติช่วยปรับปรุงสมบัติความไม่ชอบน้้าของโฟมแป้ง ทำให้การย่อยสลายของแป้งโดยกระบวนการไฮโดรไลซีสเกิดได้ช้าลงเมื่อเทียบกับโฟมแป้งที่ไม่เติมน้ำยางธรรมชาติ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โฟมชีวภาพ | th_TH |
dc.subject | น้ำยางพารา - - วิจัย | th_TH |
dc.title | การปรับปรุงสมบัติและการย่อยสลายทางชีวภาพของโฟมชีวภาพจากแป้งมันสำปะหลังด้วยน้ำยางพารา | th_TH |
dc.title.alternative | Improvement in properties and biodegradability of cassava starch biofoam using natural rubber lates | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | kaewpiro@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study reported the effects of natural rubber latex (NRL) content on morphologies, chemical, physical and mechanical properties as well as biodegradation behavior of cassava starch biofoam. The processing was performed by thermal reforming technique using conventional compression molding machine. The optimum processing conditions were 220℃, 1000 atm, and 4.30-min processing time. The foam’s density and the foam’s thickness are in the range 3.19 x 10 -3 – 4.27 x 10-3 g/cm3, and 3.25–3.45 mm, respectively. The higher the NRL content, the higer the foam’s density and the lower the foam’s thickness is. The morphological study revealed that cotton fibers, the reinforcing agent, homogeneously dispersed in the starch matrix. The foam exhibited small, dense closed cells at the exterior and large, expanded open cells in the interior. With the addition of NRL, the fraction of small closed cells decreased, while that of the large open cells increased. Moreover, as the NRL content increased, the size of the small closed cells reduced with enlarged thickness of their cell walls. The chemical structure analysis confirmed that no chemical reactions took place among all the additives used. It was also found that the improved dimensional stability of the foam was obtained by the addition of natural rubber latex. As the content of NRL increased, both the water and moisture adsorption lessened. The bending modulus of the foam was developed by the addition of cotton fiber. However, by adding a small content of NRL, the bending modulus significantly dropped. Besides, further increase in bending modulus was achieved progressively with increasing NRL content, owing to the molecular crosslinking of rubber molecules via vulcanization. The elongation at break of the foam increased significantly with the addition of NRL. However, it was found to reduce significantly when NRL content increased. Furthermore, NRL improved the hydrophobicity of the foam, thus the biodegradation of the foam via hydrolysis process was delayed by the addition of NRL. | en |
dc.keyword | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |