dc.contributor.author |
จิตติมา เจริญพานิช |
|
dc.contributor.author |
ศรีสุดา นิเทศน์ธรรม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-05-12T00:59:17Z |
|
dc.date.available |
2022-05-12T00:59:17Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4334 |
|
dc.description |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.description.abstract |
เฮกซาวาเลนซ์โครเมียมหรือ Cr(VI) เป็นสารตกค้างที่มีความเสถียรและพบได้ทั่วไปในของไหลที่เกิดจากอุตสาหกรรม ในปีจจุบันมีวิธีการกำจัด Cr(VI) หลายวิธีแต่ยังใช้ต้นทุนในการดำเนินการสูงและยังคงทิ้งสารพิษตกค้างที่เกิดจากกระบวนการกำจัดในสิ่งแวดล้อมต่อไป การดูดซับทางชีวภาพเป็นวิธีการกำจัดทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงและลดการใช้สารเคมีช่วยในปฏิกิริยาได้ จากความนิยมในการดื่มชาและกาแฟทั่วโลกเฉลี่ยวันละล้านแก้วทำให้เหลือกากชาและกากกาแฟเป็นของเหลือทิ้งจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการรีไซเคิลกากชาและกากกาแฟในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางอยู่บางก็ยังคงมีปริมาณเหลือทิ้งค่อนข้างสูงอยู่ ทางหนึ่งที่จะใช้ในการแก้ปัญหาของเหลือทิ้งนี้คือ การเปลี่ยนรูปของเหลือทิ้งเหล่านี้ไปเป็นวัสดุที่สามารถก่อประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง
จากข้อเท็จจริงที่ว่ากากชาและกากกาแฟประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่สามารถออกซิไดส์ได้ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการรีดักชั่น Cr(VI) ได้จึงทำให้งานวิจัยนี้สนใจที่จะทดลองใช้กากชาและกากกาแฟเป็นสารดูดซับราคาถูกทางเลือกใหม่สำหรับกำจัด Cr(VI) ที่ปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งสังเคราะห์ งานวิจัยได้ดำเนินการทดลองในระบบปิดเพื่อศึกษาผลของปริมาณตัวดูดซับ ค่าพีเอชและอุณหภูมิ ความเร็วในการเขย่าเพื่อเติมอากาศ ความเข้มข้นเริ่มต้นของ Cr(VI) ที่ใช้ และเวลาในการสัมผัสของ Cr(VI) กับสารดูดซับ ต่อประสิทธิภาพในการดูดซับ Cr(VI) ของกากชาและกากกาแฟ เมื่อดำเนินการวิจัยโดยใช้น้ำทิ้งสังเคราะห์พบว่าทั้งกากชาและกากกาแฟสามารถดูดซับ Cr(VI) ปนเปื้อนที่ความเข้มข้นเริ่มต้น 10-30 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้อย่างสมบูรณ์ โดยมีสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับคือ
การใช้กากชาและกากกาแฟที่ปริมาณ 2 กรัมต่อลิตร ที่ค่าพีเอชเท่ากับ 2.0 ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ด้วยความเร็วในการเขย่าเท่ากับ 250 รอบต่อนาที เป็นเวลา 180 นาที และเมื่อเพิ่มปริมาณการปนเปื้อนของ Cr(VI) เริ่มต้นเป็น 50-250 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดจะลดลงแต่ยังคงดูดซับได้ดีร้อยละ 50 เมื่อทำการวิเคราะห์พื้นผิวของสารดูดซับด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับเทคนิคจุลวิเคราะห์ (SEM-EDS) พบการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวของกากชาและกากกาแฟภายหลังการใช้ดูดซับ Cr(VI) และสามารถตรวจพบการสะสมของโครเมียมบนพื้นผิวของสารดูดซับทั้งสองชนิด แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของหมู่ฟังก์ชันใด ๆ บนพื้นผิวของสารดูดซับทั้งสองเมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องฟลูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปคโทรมิเตอร์ (FTIR) ยกเว้นแต่พบ CH stretching ถูกแทนที่ด้วย CH bending บนผิวของกากชาภายหลังการดูดซับ Cr(VI)
นอกจากนี้ยังพบว่ากากชาและกากกาแฟสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำในการดูดซับ Cr(VI) ได้ถึง 3 ครั้ง
โดยยังคงประสิทธิภาพในการดูดซับมากกว่าร้อยละ 70 การศึกษาไอโซเทอมและจลนศาสตร์ของการดูดซับเพื่ออธิบายลักษณะการดูดซับที่สมดุลของ Cr(VI) บนกากชาและกากกาแฟที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส พบผลการดูดซับของทั้งกากชาและกากกาแฟที่สอดคล้องกับ Freundlich sorption isotherm model ในทุกช่วงความเข้มข้น Cr(VI) ที่ใช้ ตั้งแต่ 100 ถึง 250 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบลักษณะจลนศาสตร์ของการดูดซับเป็นแบบ pseudo second-order kinetic adsorption model โดยให้ผลความจุของการดูดซับสูงสุดสำหรับกากชาและกากกาแฟ คือ 94.34 มิลลิกรัมต่อกรัม และ 87.72 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และเมื่อทำการศึกษาการกำจัด Cr(VI) ในลักษณะของท่อบำบัดขนาดใหญ่ที่บรรจุน้ำทิ้งสังเคราะห์ปริมาตร 3 100 ลิตร โดยใช้กากชาเป็นสารดูดซับ พบว่า สามารถกำจัด Cr(VI) ความเข้มข้นสูงถึง 100 มิลลิกรัม ต่อลิตรได้อย่างสมบูรณ์ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 30 นาทีเท่านั้น ผลการวิจัยที่ได้ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกากชาและกากกาแฟที่สามารถใช้เป็นสารดูดซับทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการกำจัด Cr(VI) ปนเปื้อนในน้ำทิ้งจากอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
น้ำเสีย - - การบำบัด - - การกำจัดโครเมียม |
th_TH |
dc.subject |
อุตสาหกรรมฟอกหนัง - - การกำจัดของเสีย |
th_TH |
dc.subject |
อุตสาหกรรมฟอกหนัง - - การลดปริมาณของเสีย |
th_TH |
dc.title |
การสร้างท่อบำบัดน้ำทิ้งที่เกิดจากกระบวนการฟอกหนัง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Construction of an inline remover for tannery effluent treatment |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
jittima@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
srisudas@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2561 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Hexavalent chromium, Cr(VI) found in industrial effluent is a serious concern
problem due to recalcitrant and persistency control. Removals of Cr(VI) by
conventional technologies are not economical and further generate huge quantity of
toxic chemical remaining in environment. Biosorption is emerging as a reasonable
alternative method for Cr(VI) removal because of its low cost and minimal chemical
used. Coffee and tea are one of worldwide-consumed beverages average billion cups
daily liberating considerable waste. Some waste is recycled into cosmetic production
with remainder unused and, in many instances, posing a disposal problem. One
solution to recycle these wastes is using them as alternative useful materials.
According to the facts that coffee ground and waste tea contain oxidizing organic
chemicals that are basic materials involved in Cr(VI) reduction. Hence, to overcome
the disposal problem, this study aims to apply coffee ground and waste tea as
alternative low-cost adsorbents for decontamination of Cr(VI) from synthetic
wastewater.
Batch experiments were conducted to study the effects of adsorbent
dosage, pH and temperature, agitation speed, initial Cr(VI) concentration and contact
time. Complete adsorption of 10-30 mg/L Cr(VI) from the synthetic wastewater was
found with 2 g/L of mixed waste tea or coffee ground used at pH 2.0 for 180
minutes, 30 °C and 250 rpm. With the increase of initial Cr(VI) concentration (50-250
mg/L), the removal percentage decreased but the efficiency was still half-detected.
Scanning electron microscopy coupled with energy dispersive X-ray spectroscopy
revealed that the nature of the mixed waste tea and coffee ground was altered after
Cr(VI) adsorption and noticeable chromium accumulation was detected on adsorbent
surfaces. No significant changes in the surface functional groups were observed from
fourier transform infrared spectrometry except that the CH stretching was replaced
with bending on the surface of mixed waste tea after Cr(VI) adsorption. Reusability of
the adsorbents for Cr(VI) adsorption exhibited the efficiency >70% in the third cycle.
The most common isotherms and kinetics of adsorption were used to
describe the Cr(VI) adsorption equilibrium studies of mixed waste tea and coffee
ground at 30 °C. The Freundlich sorption isotherm model correlated best with the
Cr(VI) adsorption equilibrium data for the 100-250 mg/L concentration range, for both
adsorbents. Analysis of kinetic studies indicated Cr(VI) adsorption by both adsorbents
was consistent with the pseudo second-order kinetic adsorption model. Experimental
data demonstrated a sorption capacity of 87.72 mg/g of coffee ground and 94.34
mg/g of mixed waste tea. Study on a 100 L of packed-bed reactor showed the
breakthrough time of adsorption for mixed waste tea as 30 minutes in 100 mg/L
Cr(VI) concentration. According to the high efficiency of Cr(VI) removal, this finding
renders the potential of mixed waste tea and coffee ground as alternative adsorbent
for chromium decontamination in the future. |
en |