DSpace Repository

การเตรียมสมบัติและการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของโฟมชีวภาพจากแป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง และแป้งข้าวโพด

Show simple item record

dc.contributor.author สุปราณี แก้วภิรมย์
dc.contributor.author ศิริเดช บุญแสง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-04-12T11:30:35Z
dc.date.available 2022-04-12T11:30:35Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4318
dc.description โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th_TH
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ได้รายงานการเตรียมสมบัติ และการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของโฟมชีวภาพจากแป้ง มันสำปะหลัง และแป้งข้าวโพดผสมแป้งข้าวเหนียว และพบว่าโฟมจากแป้งมันสำปะหลังเตรียมโดยวิธีเทอร์มอลรีฟอร์มมิ่ง มีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการขึ้นรูป คือ อุณหภูมิ 220 °C ความดัน 1000 atm และเวลา 4.50 นาที วิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของโฟมโดยเทคนิคฟูริเออร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี ศึกษาสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบว่าเมื่อเติมสารเติมแต่งผิวของโฟมมีลักษณะเรียบและเนียนขึ้นและเมื่อเติมเกาลินลงไปผิวของโฟมมีลักษณะขรุขระเพิ่มมากขึ้น การศึกษาสมบัติเชิงกลด้วยการทดสอบแรงดึงพบว่าค่าร้อยละการยืดตัวมีแนวโน้มลดลง ค่าโมดูลัสของยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณเกาลินเพิ่มขึ้น ค่าแรงเค้น ณ จุดขาด และค่าแรงเค้นสูงสุดมีค่าใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมีปริมาณเกาลินเพิ่มขึ้นความสามารถในการดูดซับความชื้นและความสามารถในการต้านทานน้ำดีขึ้น การศึกษาสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค DSC พบว่าอุณหภูมิหลอมเหลวของโฟมเพิ่มขึ้นจาก 149 เป็น 150 °C เมื่อเติมเกาลิน 15 g ทั้งนี้ เนื่องจากเกาลินเป็นสารก่อผลึกจึงช่วยให้โฟมมีความสามารถทนความร้อนและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ในการศึกษานี้พบว่าโฟมที่เตรียมจากแป้งมันสำปะหลังผสมกับน้ำ สารเติมแต่ง และเกาลินไม่เผา 15 g มีสมบัติที่ดีที่สุด และเมื่อศึกษาการย่อยสลายทางชีวภาพโดยการฝังดินพบว่าโฟมดัง กล่าวมีการย่อยสลายในดินดีมาก และ สามารถรวมกันเป็นเนื้อเดียวกับดินได้ภายในเวลา 4 สัปดาห์ สำหรับโฟมจากแปงข้าวโพดผสมแป้งข้าวเหนียวเตรียมโดยวิธีเทอร์มอลรีฟอร์มมิ่ง มีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการขึ้นรูป คือ อุณหภูมิ 220 °C ความดัน 1000 atm เป็นเวลา 4:15 นาทีโครงสร้างทางเคมีของโฟมถูกตรวจสอบโดยใช้เทคนิคฟูริเออร์ทรานสฟอร์ม อินฟราเรดสเปกโทรสโคปี ศึกษาสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าเมื่อเติมสารเติมแต่งพื้นผิวของโฟมมีลักษณะขรุขระ และเมื่อเติมเกาลินพื้นผิวของ โฟมมีลักษณะหยาบและขรุขระเพิ่มมากขึ้น การศึกษาสมบัติเชิงกลด้วยการทดสอบแรงดึงพบว่าเมื่อเติมเกาลินค่าร้อยละการยืดตัวมีแนวโน้มลดลง ค่าโมดูลัสของยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนค่าแรงเค้น ณ จุดขาดและค่าแรงเค้นสูงสุดมีแนวโน้มลดลง แต่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณเกาลินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อมีปริมาณเกาลินเพิ่มขึ้นความสามารถในการดูดซับความชื้นที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ 50 75 และ 100% ดีขึ้น เนื่องจากเกาลินมีสมบัติชอบน้ำ ในการทดสอบการต้านทานน้ำพบว่าเกาลินช่วยให้โฟมยังคงรูปร่างเดิมได้หลังจากแช่น้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง การศึกษาสมบัติทางความร้อนด้วยเทคนิค DSC พบว่าเมื่อเติมเกาลินท าให้อุณหภูมิหลอมเหลวของโฟมเพิ่มขึ้นจาก 142 เป็น 156 °C เนื่องจากเกาลินเป็นสารก่อผลึกในโฟมจึงช่วยให้โฟมมีความสามารถทนความร้อนและมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น ในการศึกษานี้พบว่าโฟมที่เตรียมจากแป้งข้าวโพดผสมแป้งข้าวเหนียวผสมกับน้ำ สารเติมแต่ง และเกาลินไม่เผา 15 กรัม มีสมบัติดีที่สุด และเมื่อศึกษาความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพโดยการฝังดินพบว่าโฟมดังกล่าวมีการย่อยสลายในดินดีมาก และรวมกันเป็นเนื้อเดียวกับดินได้ภายใน 4 สัปดาห์ th_TH
dc.description.sponsorship สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject โฟม - - การย่อยสลายทางชีวภาพ th_TH
dc.subject โฟมชีวภาพ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ th_TH
dc.title การเตรียมสมบัติและการทดสอบการย่อยสลายทางชีวภาพของโฟมชีวภาพจากแป้งข้าวเหนียว แป้งมันสำปะหลัง และแป้งข้าวโพด th_TH
dc.title.alternative Preparation, characterization and biodegradation of biofoam from glutinous rice, cassava, and corn starch en
dc.type Research th_TH
dc.author.email kaewpiro@buu.ac.th th_TH
dc.year 2558 th_TH
dc.description.abstractalternative This study reported preparation, characterization and biodegradation of biofoams based on cassava starch and corn starch blended with gutinous rice starch. The experimental results revealed that the optimum conditions for cassava starch biofoam processing by thermal reforming process were a temperature of 220 °C, a pressure of 1000 atm and 4.50 min processing time. Chemical structure of the foam was investigated using Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR). Scanning electron microscopy (SEM) revealed that with the addition of additives, the foam showed a smooth surface. When kaolin was added, the foam surface was rough and the surface roughness increased with increase in kaolin content. Tensile testing showed that percent elongation of the foam tended to decrease while the modulus was increased with increase in kaolin content. All the biofoams prepared in this study exhibited similar values of stress at break. Moreover, it was found that the moisture absorption capacity and water resistance increased with increase in kaolin content. DSC results showed that melting temperature of the foam increased from 149 to 150 °C after kaolin addition. This was because kaolin is a nucleating agent, thus, it helped to initiate the crystallization of starch. Biofoam prepared from cassava starch, water, additives and 15 g of kaolin showed the best properties amoung other synthesized foams. Biodegradation in soil of such the foam revealed that the foam was totally degraded within four weeks. Biofoam prepared from corn starch blended with gutinous rice starch by thermal reforming showed the optimums at the temperature of 220°C, 1000 atm pressure, and 4:15 min processing time. Chemical structure of the foam was investigated using Fourier-transform infrared spectroscopy (FT-IR). Scanning electron microscopy (SEM) revealed that with the addition of additives, the foam showed rough surface. When kaolin was added, the foam surface roughness increased as kaolin content increased. Tensile testing showed that, with the additive of kaolin, percent elongation of the foam tended to decrease while the modulus was increased. Stress at break and stress at peak were also decreased. However, these properties were increased with increase in kaolin content. Moreover, it was found that the moisture absorption capacity of the foam at 50, 75 and 100 %RH increased with increase in kaolin content. This was because of kaolin’s hydrophilicity. Water resistance test confirmed that kaolin caused the foam to remain in shape after soaking in water for 12 hrs. DSC results showed that the melting temperature of the foam increased from 142 to 156 °C after kaolin addition. This was because kaolin is a nucleating agent, thus, it helped to increase the crystallization of starch. Biofoam prepared from corn starch mixed with glutinous rice flour, water, additives and 15 g of kaolin showed the best properties amoung other synthesized foams. Biodegradation in soil of such the foam revealed that the foam can be totally degraded within four weeks en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account