dc.contributor.author | สุเนตร สุวรรณละออง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:51:49Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:51:49Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/430 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิถีชีวิตของตำรวจอาสาในชุมชนเมือง กรณีศึกษาตำรวจอาสาสถานีภูธรเมืองชลบุรี มีจุดมุ่งหมายในการสะท้อนสภาพชีวิต ปัญหาและวิธีการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ของตำรวจอาสาที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแบบเมือง รวมทั้งเพื่อค้นหารูปแบบหรือลักษณะของวิถีชีวิตในสังคมเมืองที่สามารถส่งเสริมการทำงานแบบอาสาสมัครให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีต่าง ๆ คือ (1) การศึกษาเอกสารต่าง ๆ (Documentary Study) ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ต้องการ (2) การศึกษาภาตสนาม (Field Study) การซักถาม การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) และไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) (3) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) ผู้ให้ข้อมูล (Key Information) โดยการใช้คำถามทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ตำรวจอาสาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถานีภูธรเมืองชลบุรี จำนวน 16 ราย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มตำรวจอาสาระดับแกนนำจำนวน 5 ราย และกลุ่มตำรวจอาสาระดับผู้ปฏิบัติการ 11 ราย การศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งวิถีชีวิตของตำรวจอาสาที่จะศึกษาออกเป็นสามด้าน คือ ด้านการทำงาน ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติ ด้านความเป็นอยู่โดยในด้านความเป็นอยู่จะแบ่งเป็นประเด็นย่อย ๆ สามประเด็น คือ การอุปโภคบริโภค การดูแลสุขภาพและสาธารณสุข และศาสนาและความเชื่อ ผลของการศึกษาพบว่า 1. วิถีชีวิตของตำรวจอาสาในชุมชนเมืองด้านการทำงานมี 2 รูปแบบที่สำคัญ คือ 1) การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) ตามความถนัดและความรู้ความสามารถ (Specialization) เป็นวิถีของการทำงานหลักหรืองานประจำ 2) การทำงานตามอัธยาศัยเป็นวิถีของการทำงานอาสา นอกจากนี้ยังพบว่าปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจอาสากับคนรอบข้างมีส่วนส่งเสริมให้งานตำรวจอาสามีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. วิถีชีวิตด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติพบว่า มีลักษณะของความปัจเจกชนนิยม (Individualism) สูงโดยจะแสดงออกมาในรูปแบบของการมีครอบครัวเดี่ยว การอยู่กันแบบเฉย ๆ แบบไม่แต่งงาน การหย่าร้าง การเปลี่ยนคู่บ่อย ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าหลักประชาธิปไตยถูกนำมาเป็นรูปแบบสำคัญในการดำเนินชีวิตครอบครัว 3. วิถีชีวิตด้านความเป็นอยู่ พบว่า การบริโภคสินค้า การท่องเที่ยว การพักผ่อน การดูแลสุขภาพร่างกาย ศาสนาและความเชื่อของตำรวจอาสา ยึดโยงอยู่กับหลักของเหตุผล วิทยาศาสตร์และความทันสมัย 4. สภาพปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาของตำรวจอาสาในการดำเนินชีวิตในชุมชนเมืองพบว่า ตำรวจอาสาต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมายทั้งในด้านการทำงาน ครอบครัวและชีวิตความเป็นอยู่ และวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ ของตำรวจอาสาที่สำคัญคือ การใช้วิธีการสื่อสารหรือการพูดคุยเป็นหลัก 5. รูปแบบวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการทำงานของตำรวจอาสาให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น ได้แก่ การเคารพในสิทธิ หน้าที่ บทบาท เหตุผล หลักการและการมีเวลาที่ลงตัวในการทำงาน การมีครอบครัวที่อบอุ่นและเข้าใจของครอบครัวตำรวจอาสา การให้ความร่วมมือของประชาชน การมีเครือข่ายในสังคม การสนับสนุนของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ข้อเสนอที่ได้รับจากผลการศึกษา หน่วยงานภาครัฐทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ควรตระหนักถึความสำคัญของการมีตำรวจอาสาในชุมชนและควรสนับสนุนทั้งพัฒนางานตำรวจอาสาในทุกวิถีทางเท่าที่ทำได้เพื่อให้งานตำรวจอาสาก้าวหน้าและสามารถลดทอนช่องว่างระหว่างตำรวจและประชาชนยังผลให้งานป้องกันอาชญากรรมของชุมชนประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด | th_TH |
dc.description.sponsorship | ได้รับทุนสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2550 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การป้องกันอาชญากรรม - - การมีส่วนร่วมของประชาชน | th_TH |
dc.subject | ชุมชนเมือง | th_TH |
dc.subject | ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน | th_TH |
dc.subject | ตำรวจอาสา - - การดำเนินชีวิต | th_TH |
dc.subject | ตำรวจอาสา - - ไทย - - ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | ตำรวจอาสา | th_TH |
dc.subject | วิถีชีวิต | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | |
dc.title | วิถีชีวิตตำรวจอาสาในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาตำรวจอาสาสถานีภูธรเมืองชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Lifestyle of Volunteer Police in Urban Community: THe Case Study of Volunteer Police of Chonburi Police Station | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | The objective of the reseachentitled "Lifestyle of voluteer police in urban community: The case study of volunteer police of Chonburi Police Station", is to reflect the living conditions, proplems and proplems management of volunteer police in urban community,including searching for a way of living conditions in urban community that may support and contribute to efficient voluntary in the area. The qualitative research is based on documentary study, field study, and in-depth interview. The 16 key informents of this research are under supervisor of the Chonburi provincial policr station. Among them can be divided into two groups, namely; a core group of volunteer police which consists of 5 officers, and the other group comprises of 11 officers in the operational level. The reseach classifies lifestyles of volunteer police into three main categories; which aer working, family and kinship, and livelihood. On the issue of livelihood, the research focuses on three areas; consumption, physicalhealth, and religion and belief. The reaseach findings are: 1. In the realm of working, volunteer police can be divided into two main types. First, volunteer police as a full-time lob. In this category, they will have division of labor and specialization for occupation, depending on their skills and knowledge. Second, volunteer police as a way of voluntary mission. Also, the research discovers that good inter-personal relations between police and other would attribute to high efficiency of volunteer police operation;. 2. Individulalism dominates the aspect of family and kinship relation of volunteer police. Some of them adopt nuclear family type, some divorced, some co-habitation, and somechanging their partners constantly; 3. The livelihood of volunteer police key stone is related highly ot rationalism, scientific principality and modernity; 4. Volunteer police face a number of problems in their and work, and the key solution to their problems is by means of communication; The lifestyle and values that will increase operational efficiency of volunteer police in urban area are awareness in their right, roles and responsibility, principles; as well as appropriate working time. In addition to that, having a warm and understanding family; and supportive and co-operative community, social network and government agency both in the national and local levels are very important factors to help improve the operations of volunteer police. The reseach recommends that agency and local community realize the signifinance of having volunteer police as another means to perventing ceimes within the community; and along with this realization, support them on their tasks as well as improve their lives and operation conditions. | en |
Files | Size | Format | View |
---|---|---|---|
There are no files associated with this item. |