dc.contributor.author |
อภิรดี ปิลันธนภาคย์ |
|
dc.contributor.author |
สุดารัตน์ สวนจิตร |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
th |
dc.date.accessioned |
2021-11-19T08:35:29Z |
|
dc.date.available |
2021-11-19T08:35:29Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4295 |
|
dc.description |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
th_TH |
dc.description.abstract |
ศึกษาสภาวะเหมาะสมของราจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในการสร้างสารยับยั้งราก่อโรคพืช 4 ชนิด คือ Colletotrichum gloeosporioides DOAC 0782, Alternaria brassicicola DOAC 0436, Fusarium oxysporum DOAC 1808 และ Pestalotiopsis sp. DOAC 1098 ของราทะเลและราเอนโดไฟท์จากป่าชายเลนจำนวน 5 สายพันธุ์ เริ่มจากการทดสอบยืนยันฤทธิ์ของสารสกัดในการยับยั้งรา ก่อโรคพืชด้วยการเลี้ยงราในสภาวะตั้งต้นในอาหารเหลว PDB บ่มโดยใช้สภาวะตั้งต้นสองสภาวะ คือตั้งทิ้งไว้ และเขย่าด้วยความเร็ว 150 รอบ/นาที ผลการศึกษาด้วยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดเอธิล อะซิเตตจากน้าเลี้ยงเชื้อราป่าชายเลนทุกสายพันธุ์สามารถยับยั้งราก่อโรคพืชได้ สารสกัดที่ได้จากสภาวะ ที่มีการเขย่าส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยับยั้งดีกว่าผลของสารสกัดที่ตั้งทิ้งไว้
ทำการหาสภาวะเหมาะสมของราทะเลและราเอนโดไฟท์ ต่อการผลิตสารยับยั้งราก่อโรคพืช ที่ดีโดยใช้สภาวะตั้งต้นที่เขย่า 150 รอบ/นาที ในอาหารเหลว PDB เป็นหลักและปรับสภาวะทางกายภาพอื่น ๆ ได้แก่ ผลของความเค็ม ตามด้วยชนิดของอาหารเหลว ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้น ความเร็วในการเขย่า อุณหภูมิ และระยะเวลาในการเลี้ยงตามลาดับ ครั้งละ 1 สภาวะ เลือกสภาวะที่ดีที่สุดไปใช้ในการทดลองขั้นต่อไป พบว่าสภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตสารยับยั้งราก่อโรคพืชที่มีประสิทธิภาพของราทะเลคือ ความเค็ม 15-20 ppt อาหาร PDB และ YMB ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเท่ากับ 6 เขย่าที่ 100-150 รอบ/นาที บ่มที่ 25-28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน และสภาวะเหมาะสมของราเอนโดไฟท์คือ ความเค็ม 0-10 ppt อาหาร PDB YMB และ SDB ค่าความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นเท่ากับ 5-6 เขย่าที่ 100-150 รอบ/นาที บ่มที่ 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4-7 วัน พบฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชสูงสุด จากสารสกัดของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ฤทธิ์ยับยั้งสูงสุดรองลงมาคือสารสกัดของราเอนโดไฟท์ สายพันธุ์ BUEN 830 แต่สารสกัดราเอนโดไฟท์สายพันธุ์ BUEN 834 มีฤทธิ์ยับยั้งเพิ่มขึ้นสูงสุดคือ 10 เท่า หลังปรับสภาวะเทียบกับการเลี้ยงแบบตั้งทิ้งไว้
ผลผลิตของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 และราเอนโดไฟท์สายพันธุ์ BUEN 830 ที่เลี้ยงในอาหารเหลวปริมาตร 50 มิลลิลิตร และ 200 x 5 มิลลิลิตร ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งราของสารสกัดพบว่าสารสกัดของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ที่ได้ภายหลังจากการขยายขนาดการหมักมีฤทธิ์ยับยั้งราก่อโรคพืชทุกชนิดยกเว้น Pestalotiosis sp. โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.2-0.4 เท่า
ค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดต่อการยับยั้งการเจริญของราก่อโรคพืชที่ได้ ภายหลังจากการขยายขนาดการหมักของราทะเลสายพันธุ์ BUSK 055-1 ในการยับยั้ง C. gloeosporioides และ A. brassicicola เท่ากับ 1024 และ 2048 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ส่วนสารสกัดจากรา เอนโดไฟท์ สายพันธุ์ BUEN 830 มีค่า MIC ในการยับยั้งราก่อโรคพืชทุกชนิด ≥ 4096 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
เชื้อราน้ำเค็ม |
th_TH |
dc.subject |
เชื้อราก่อโรค - - สารยับยั้ง |
th_TH |
dc.subject |
เชื้อรา -- นิเวศวิทยา |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
th_TH |
dc.title |
การปรับปรุงสภาวะในการสร้างสารต้านราก่อโรคพืชของราจากสิ่งแวดล้อมทางทะเล |
th_TH |
dc.title.alternative |
Optimization of fungi from marine environments for production of anti fungal compounds against fungal phyto-pathogens |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dcterms.publisher |
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.author.email |
apiradee@buu.ac.th |
th_TH |
dc.author.email |
sudarat@buu.ac.th |
th_TH |
dc.year |
2559 |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
Five marine derived fungi; mangrove fungi and marine endophyte, were studied for their optimal condition to produce antifungal agents against four phytopathogenic fungi; Colletotrichum gloeosporioides DOAC 0782, Alternaria brassicicola DOAC 0436, Fusarium oxysporum DOAC 1808 and Pestalotiopsis sp. DOAC 1098. Before optimization, the antifungal potential of the ethyl acetate extracts prepared from fungal cultures in PDB were confirmed. The cultures were under static and shaking at 150 rpm. The ethyl acetate extracts of culture filtrate were tested for antifungal activity by disc diffusion. The antifungal activities were obtained from all extracts, confirmed the antifungal activity of all fungi. The extracts from shaking condition exhibited higher inhibition activity than from the static condition.
Optimization process for the maximum antifungal production was carried out stepwise in liquid medium under various cultural conditions began with salinity and then followed by type of medium, initial pH, shaking rate, temperature, and incubation time. After each optimizing step, the ethyl acetate extracts were tested for antifungal activity by disc diffusion method and the best condition was selected for using in the next step. After final optimization, strong antifungal activities against all phytopathogens were observed. The maximum antifungal activity was obtained after the marine fungi were fermented in 15-20 ppt, PDB and YMB, initial pH 6 after shaking at 100-150 rpm at 25-28 °C for 7 days. For endophytic fungi, the optimization conditions were fermentation in 0-10 ppt either in PDB, YMB or SDB, initial pH 5-6, shaking rate 100-150 rpm at 28 °C for 4-7 days. The highest antifungal activity against all phytopathogens fungi was shown in the marine fungus BUSK 055-1 - broth extracts, followed by the endophytic fungus BUEN 830-broth extracts. The highest optimization was in the extract from endophytic fungus BUEN 834. Ten-fold increasing after optimization compared to static condition was recorded.
The yield of crude extract from 50 ml (Miniscale) and 200 x 5 ml (Scale up) broth culture under optimization were not different but the antifungal activity of the marine fungus BUSK 055-1 -broth extract against all fungi increased 0.2-0.4 times, except Pestalotiopsis sp.
The extracts from marine fungus BUSK 055-1 showed the minimum inhibitory concentration (MIC) by agar dilution technique against C. gloeosporioides and A. brassicicola, were 1024 and 2048 μg/ml, respectively. The MIC of the endophytic fungus BUEN 830-broth extracts against all phytopathogens fungi were ≥ 4096 μg/ml. |
en |