dc.contributor.author | สลิล ชั้นโรจน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ | th |
dc.date.accessioned | 2021-11-19T03:33:51Z | |
dc.date.available | 2021-11-19T03:33:51Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4290 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทประเภทงบเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประจำปี พ.ศ. 2559 | th_TH |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันโรคอ้วนจัดเป็นปัญหาหลักทางสุขภาพทั่วโลกเนื่องจากภาวะโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยแนวทางในการป้องกันและแก้ภาวะโรคอ้วนที่เป็นที่นิยมคือการรับประทานยาลดน้ำหนักเนื่องจากใช้เวลาน้อยแต่ได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น อย่างไรก็ตามการรับประทานยาลดน้ำหนักไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุดในการรักษาโรคอ้วนเพราะยาอาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้นแนวทางหนึ่งในการควบคุมน้ำหนักคือการลดการย่อยแป้งและไขมันอันเนื่องมาจากกิจกรรมของเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสและไลเปส ดังนั้นงานวิจัยนี จึงมุ่งศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผักพื้นบ้าน จำนวน 30 ชนิดต่อการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารที่ได้มาจากตับอ่อน ได้แก่ ไลเปส แอลฟาอะไมเลส และทริปซิน ในหลอดทดลอง และเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ ได้แก่ แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส โดยนาผักพื้นบ้านที่เก็บเกี่ยวในสามฤดูที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว มาสกัดด้วยตัวทาละลายที่ต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ นำเอทานอล และเฮกเซน ที่อุณหภูมิ 37 หรือ 90 องศาเซลเซียส จากนั้นสารสกัดหยาบที่ได้ถูกนำไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์โดยใช้ Orlistat® (ยารักษาโรคอ้วน) Acarbose® (ยารักษาโรคเบาหวาน) phenylmethylsulfonyl fluoride (สารยับยั้งโปรตีเอส) และ nicotinic acid (วิตามินบี 3) เป็นชุดควบคุม ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดหยาบจาก ชะอม ขึ้นฉ่าย มะกรูด กะเพรา เตยหอม และย่านาง มีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสได้ดี โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ครึ่งหนึ่ง (IC50) น้อยกว่า 300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดหยาบจาก ชะอม กุ้ยฉ่าย ตาลึง กระถิน สะระแหน่ เตยหอม ย่านาง และขิง มีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลฟาอะไมเลสได้ดี ในขณะที่สารสกัดหยาบจาก กระเทียม ข่า สะระแหน่ ชะพลู และมะเขือพวง มีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ทริปซินได้ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผักพื้นบ้านกลุ่มนี อาจไม่เหมาะสมในการรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนักเนื่องจากการรบกวนการย่อยโปรตีน นอกจากนี้ ยังพบว่าสารสกัดหยาบจากข่า ขึ้นฉ่าย และขิง มีฤทธิ์ในการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนสได้ดี ซึ่งอาจส่งผลรบกวนกระบวนการเมแทบอลิซึมอื่่นของร่างกายได้ถ้ารับประทานผักพื้นบ้านกลุ่มนี้ เข้าไปในปริมาณมาก ดังนั้นผักพื้นบ้านที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อใช้ควบคุมน้ำหนัก ได้แก่ ชะอม เตยหอม และย่านาง เนื่องจากสารออกฤทธิ์ในผักพื้นบ้านดังกล่าวมีฤทธิ์จำเพาะในการยับยั งกิจกรรมเอนไซม์ไลเปสและแอลฟาอะไมเลสซึ่งเป็นเอนไซม์เป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผักพื้นบ้าน - - แง่โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | โครงการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากผักพื้นบ้านไทยต่อการยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส แอลฟาอะไมเลส โปรตีเอส และแอลกอฮอล์ดีไฮโรจีเนส เพื่อใช้เป็นอาหารสุขภาพในการควบคุมน้ำหนัก | th_TH |
dc.title.alternative | Inhibitory effect of Thai vegetable extracts on activities of lipase, alpha-amylase, protease and alcohol-dehydrogenase | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | salil@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Obesity is a major public health risk causing diabetes, hypertension, and cardiovascular disease. In general, taking medication is the most popular approach to weight loss because it takes less time, yet patients can lose more weight than other methods. However, prescription drugs can also bring about deadly adverse effects. An alternative way to lose weight is to reduce lipase and alpha-amylase activities in the digestive system. Thus, this research aimed to study in vitro inhibitory effect of extracts from 30 Thai vegetables on the activities of digestive enzymes (pancreatic lipase, pancreatic alpha-amylase, and trypsin) and an enzyme in alcohol metabolism (alcohol dehydrogenase). Local Thai vegetables were sampled from three different seasons, including summer, spring and winter, and were extracted with water, ethanol or hexane at 37 °C or at 90°C. Each extract was subsequently assayed for enzyme inhibition using Orlistat®, Acarbose®, phenylmethylsulfonyl fluoride (PMSF), or nicotinic acid as positive controls. Results indicated that crude extracts of Acacia pennata (Cha om), Apium graveolens (Khuen-chai), Citrus hystrix (Makrut lime), Ocimum tenuiflorum (Kaphrao), Pandanus amaryllifolius (Bai toei) and Tiliacora triandra (Ya nang) possessed compelling anti-lipase activities as their IC50 (the half maximum inhibitory concentration) were less than 300 μg/ml. Furthermore, crude extracts of A. pennata, Allium tuberosum (Kow choi), Coccinia grandis (Tum lung), Leucaena glauca (Kra thin), Mentha cordifolia (Saranae), P. amaryllifolius, T. triandra and Zingiber officinale (Khing) also demonstrated significant anti-alpha amylase activities. Interestingly, crude extracts of Allium sativum (Kra tium), Alpinia galanga (Khaa), M. cordifolia, Piper sarmentosum (Chaphlu) and Salanum torvum (Ma khuea phuang) embraced considerable anti-trypsin activities, implying that these extracts might not be suitable for weight loss due to an interference with protein digestion. Moreover, crude extracts of A. galangal, A. graveolens and Z. officinale had additional anti-alcohol dehydrogenase activities, suggesting that these extracts would interfere with other drug metabolisms in our body, therefore the application should be 3 handled with care. Taken together, the favorable Thai vegetables and their extracts recommended for functional food development and natural anti-obesity remedy are A. pennata, P. amaryllifolius, and T. triandra based on their specific anti-lipase and anti-alpha amylase activities. | en |