Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินศักยภาพของจังหวัดจันทบุรี ในการพัฒนาเข้าสู่นครอัญมณีของโลก และ 2) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์และ แผนปฏิบัติการให้กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ
จากกลุ่ม ผู้ประกอบการชาวจันทบุรี ผู้ประกอบการชาวไทยต่างถิ่นและชาวต่างชาติ
นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติจำนวน 470 คน ผลการประเมินศักยภาพ พบว่า
จังหวัดจันทบุรีมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านระบบตลาด ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสถาบัน
และด้านอื่น ๆ ที่เพียงพอในการสนับสนุนการเป็นศูนย์การการค้าอัญมณีของโลก
ยกเว้นปัจจัยด้านการตลาดและกฎระเบียบบางด้านที่ยังขาดหายไป ปัจจัยที่สำคัญ
ที่จะทำให้จังหวัดจันทบุรีสามารถพัฒนาไปสู่นครแห่งอัญมณีของโลกได้ก็คือ มีทำเล
ที่ตั้งหมาะสม มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ และมีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการประกอบการ
ัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่สำคัญ คือ วัตถุดิบ แรงงาน การตลาด และรูปแบบสินค้า
ผลการวิจัยได้ถูกนำมาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ “2022 จันทบุรีนครอัญมณี ศูนย์กลาง
การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก” ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนา
5 ด้าน ได้แก่ 1) การจัดการวัตถุดิบ 2) การพัฒนาแรงงานฝีมือและพัฒนามาตรฐาน
กระบวนการผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนาและขยายตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ
ในระดับสากล 4) การปรับปรุงและพัฒนากลไกของรัฐเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการ
และ 5) การเพิ่มความเข้มแข็งของการจัดการและอุตสาหกรรมสนับสนุน